วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

หลักภาษา

หลักภาษา


1.ภาษาไทย

2.ภาษาอังกฤษ

3.ภาษาญี่ปุ่น

คำช่วยขยายเวลา

โครงสร้างภาษา
 ในการพูดเกี่ยวกับระยะเวลา ไม่ต้องมีคำช่วย
 「ระยะเวลา」 + 「กริยา」+ます
 「ระยะเวลา」 + 「V」+ます
ตัวอย่าง (1)
私 は 8時間 寝ます
Watashi wa hachi-jikan nemasu
ฉันนอน 8 ชั่วโมงครับ/ค่ะ
 
テレビ を 2時間 見ます
Terebi wo ni-jikan mimasu
ดูทีวี 2 ชั่วโมงครับ/ค่ะ
 
田中 先生 は 一週間 休みます
Tanaka sensei wa isshuu-kan yasumimasu
อาจารย์ทานากะหยุด 1 สัปดาห์ครับ/ค่ะ
 
山田 さん は 一年間 タイ語 を 勉強 します
Yamada-san wa ichi-nen-kan tai-go wo benkyou shimasu
คุณยามาดะเรียนภาษาไทย 1 ปีครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)โดยทั่วไป คำนามทุกๆคำในภาษาญี่ปุ่น เมื่อจะใช้ในประโยคใดๆ มักจะต้องใช้ควบคู่กับคำช่วย เพื่อระบุว่าคำนามนั้นทำหน้าที่เป็นอะไรในประโยค

แต่คำนามที่เกี่ยวกับระยะเวลา เช่น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที ไม่ต้องใช้คำช่วย
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ในบทนี้ จะเห็นว่ามีประโยคที่มีคำนาม 2 คำ ที่ขยายคำกริยาตัวเดียวกัน เช่น
ตัวอย่างที่ ② จะมีทั้งคำว่า "ทีวี" และ "2 ชั่วโมง" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายคำกริยา คือ "ดู"

กรณีเช่นนี้ จะเกิดความสงสัยว่า ควรจะเรียงลำดับคำนาม 2 ตัวนี้อย่างไร คือ
テレビ を 2時間 見ます (terebi wo ni-jikan mimasu) หรือ
2時間 テレビ を 見ます (ni-jikan terebi wo mimasu)

คำตอบคือ สามารถใช้ได้ทั้ง 2 แบบ แต่จะมีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย คือ
คำนามที่อยู่ใกล้คำกริยา จะเป็นคำสำคัญที่ต้องการสื่อสารมากกว่า

テレビ を 2時間 見ます จึงมีความหมายว่า "ดู 2 ชั่วโมง" ส่วนคำว่า "ทีวี" เป็นวลีที่มาขยายอีกครั้งหนึ่งว่า ที่ดู 2 ชั่วโมงนั้น ดูอะไร

2時間 テレビ を 見ます จึงมีความหมายว่า "ดูทีวี" ส่วนคำว่า "2 ชั่วโมง" เป็นวลีที่มาขยายต่อว่า ดูทีวีนานแค่ไหน

ส่วนขยายกรรม

โครงสร้างภาษา
 を เป็นคำช่วยขยายคำนาม เพื่อแสดงว่าคำนามนั้นเป็นกรรมของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「ประธาน」 + は + 「คำนาม」+ 「กริยา」+ます
 「N」 + は + 「N」+ 「V」+ます
ตัวอย่าง (1)
私 は テレビ を 見ます
Watashi wa terebi wo mimasu
ฉันดูทีวีครับ/ค่ะ
 
お父さん は 新聞 を 読みます
Otousan wa shinbun wo yomimasu
คุณพ่ออ่านหนังสือพิมพ์ครับ/ค่ะ
 
お母さん は ご飯 を 作ります
Okaasan wa gohan wo tsukurimasu
คุณแม่ทำอาหารครับ/ค่ะ
 
弟 は ゲーム を 遊びます
Otooto wa geemu wo asomasu
น้องชายเล่นเกมส์ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)を เป็นคำช่วยเพื่อขยายคำนามว่าเป็นกรรมของประโยค
2)คำนามที่เป็นกรรม จะต้องวางไว้ข้างหน้าคำกริยาเสมอ
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ทำไมประโยคในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่เรียงคำเหมือนกับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

เช่น ฉันทานข้าว ทำไมในภาษาญี่ปุ่น จึงใช้ว่า ฉัน ข้าว ทาน
เรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยาก

ประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีโครงสร้างพื้นฐาน 2 ส่วน คือ 1)ส่วนที่เป็นประธาน และ 2)ส่วนที่เป็นกริยา
ประโยค "ฉันทานข้าว" มีส่วนที่เป็นประธาน คือ "ฉัน" และส่วนที่เป็นกริยา คือ "ทาน"

ในภาษาญี่ปุ่น วลีที่ขยายประธาน จะต้องวางไว้หน้าประธาน และวลีที่ขยายกริยา จะต้องวางไว้หน้าคำกริยาเสมอ
ดังนั้น "ข้าว" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายกริยา จึงต้องวางไว้หน้าคำว่า "ทาน" นั่นเอง
2)เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างประโยค คือ "ฉันดื่มน้ำเย็น"

คำว่า "เย็น : tsumetai" เป็นคำคุณศัพท์ขยาย "น้ำ : mizu" จึงต้องนำคำว่า "เย็น" ไปวางไว้หน้า "น้ำ"
คำว่า "น้ำเย็น" จึงต้องพูดว่า --> つめたい みず tsumetai mizu

แต่ "น้ำเย็น" ก็เป็นส่วนที่คำกริยาว่า "ดื่ม : nomimasu" ดังนั้น จึงต้องนำคำว่า "น้ำเย็น" ไปไว้หน้า "ดื่ม" อีกต่อหนึ่ง

ฉันดื่มน้ำเย็น จึงต้องพูดว่า 私 は つめたい 水 を 飲みます Watashi wa tsumetai mizu wo nomimasu

ส่วนขยายประธาน

โครงสร้างภาษา
 は เป็นคำช่วยขยายคำนาม เพื่อแสดงว่าคำนามนั้นเป็นประธานของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「คำนาม」+は +「วลี」 โดยวลีจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำคุณศัพท์ ก็ได้
 「N」+は +「phrase」
ตัวอย่าง (1)
私 は 行きます
Watashi wa ikimasu
ฉันจะไปครับ/ค่ะ
 
あなた は 誰 と 行きます か
Anata wa dare to ikimasu ka
คุณจะไปกับใครครับ/ค่ะ
 
私 は 田中さん と 行きます
Watashi wa Tanaka san to ikimasu
ฉันจะไปกับคุณทานากะครับ/ค่ะ
 
あなた も 行きます か
Anata mo ikimasu ka
คุณก็จะไปไหมครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)は เป็นคำช่วยขยายประธาน โดยมีนัยยะว่าเป็นการเจาะจงพูดถึงเรื่องของประธานในประโยคเท่านั้น เช่น
ตัวอย่างที่ ① 私は行きます (watashi wa ikimasu) ฉันจะไป
  --> กำลังพูดถึงเรื่องของ "ฉัน" ว่าจะทำอะไร
ตัวอย่างที่ ⑤ 桜はきれいです (sakura wa kirei desu) ซากุระสวย
  --> กำลังพูดถึง "ซากุระ" ว่ามีลักษณะอย่างไร
ตัวอย่างที่ ⑨ これは私の傘です (kore wa watashi no kasa desu) นี่คือร่มของฉัน
  --> กำลังพูดถึง "สิ่งของชิ้นนี้" ว่าคืออะไร
2)は สามารถแทนด้วยคำว่า が ก็ได้
แต่จะมีความหมายแตกต่างไป ซึ่งจะอธิบายในบทถัดไป
3)は สามารถใช้ในประโยคที่เป็นคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำนามก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ ①-④ เป็นกรณีที่วลีเป็นคำกริยา
ตัวอย่างที่ ⑤-⑧ เป็นกรณีที่วลีเป็นคำคุณศัพท์
ส่วนตัวอย่างที่ ⑨-⑫ เป็นกรณีที่วลีเป็นคำนาม
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำคุณช่วยและคำนามที่ต้องการขยายให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 12 : あなた の 傘 は どれ です か (Anata no kasa wa dore desu ka)
ควรพูดว่า Anatano kasawa doredesuka
2)เนื่องจากคำว่า Anata no เป็นคำขยาย kasa และคำว่า wa ก็เป็นคำขยาย kasa เช่นเดียวกัน
ดังนั้น หากจะพูดให้เพราะยิ่งขึ้น ควรพูดว่า
Anatanokasawa doredesuka

โครงสร้างภาษา
 が เป็นคำช่วยขยายคำนาม เพื่อแสดงว่าคำนามนั้นเป็นประธานของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「คำนาม」+が +「วลี」 โดยวลีจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำคุณศัพท์ ก็ได้
 「N」+が +「phrase」
ตัวอย่าง (1)
どれ が あなた の かばん です か
Dore ga anata no kaban desu ka
อันไหนคือกระเป๋าของคุณครับ/ค่ะ
 
これ が 私 の かばん です
kore ga watashi no kaban desu
อันนี้คือกระเป๋าของฉันครับ/ค่ะ
 
これ は 何 です か
kore wa nan desu ka
อันนี้คืออะไร
 
これ は 私 の かばん です
kore wa watashi no kaban desu
อันนี้คือกระเป๋าของฉันครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)が เป็นคำช่วยขยายประธาน โดยมีรูปแบบได้หลายอย่าง เช่น
「N」+が +「N」+です
「N」+が +「adj」+です
「N」+が +「V」
2)การใช้ が มีลักษณะคล้ายกับ は แต่มีความแตกต่าง คือ
が เป็นการกล่าวโดยทั่วไป ไม่ได้เจาะจงจะพูดถึงเรื่องประธานโดยตรง เช่น
ตัวอย่างที่ ② これ が 私 の かばん です (kore ga watashi no kaban desu) อันนี้คือกระเป๋าของฉัน
  --> ไม่มีเจตนาโดยตรงที่จะอธิบายว่า "อันนี้" คืออะไร
ซึ่งแตกต่างกับตัวอย่างที่ ④ これ は 私 の かばん です (kore ga watashi no kaban desu) อันนี้คือกระเป๋าของฉัน
  --> มีเจตนาโดยตรงที่จะอธิบายว่า "อันนี้" คืออะไร
3)私 は 行きます (Watashi wa ikimasu) ฉันจะไป
  --> มีเจตนาจะอธิบายว่า "ฉัน" จะทำอะไร
私 が 行きます (Watashi ga ikimasu) ฉันจะไป
  --> ไม่มีเจตนาเล่าว่า "ฉัน" จะทำอะไร .. เป็นเพียงเล่าว่า "ใคร" จะไป
4)กรณีที่วลีเป็น "คำคุณศัพท์" โดยทั่วไปจะใช้ が เป็นคำช่วยขยายประธาน เช่น ตัวอย่างที่ ⑨-⑫
ตัวอย่างที่ ⑨ 月 が 明るい です (Tsuki ga akarui desu) ดวงจันทร์สว่าง
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ผู้ที่เริ่มเรียนไวยากรณ์ญี่ปุ่น จะสับสนในการใช้คำว่า は และ が เป็นอย่างมาก

ในขั้นนี้ควรทำความเข้าใจว่า は ใช้ในกรณีที่ต้องการเจาะจงถึงประธานโดยตรง เพื่ออธิบายว่ามีประธานจะทำอะไร ประธานมีลักษณะอย่างไร

ส่วน が จะเป็นลักษณะการบอกเล่าทั่วไป เช่น ใครจะทำอะไร หรือใครเป็นอะไร เป็นต้น
โครงสร้างภาษา
 ~は~が~です เป็นประโยคบอกเล่า เพื่อแสดงว่าประธานเป็นอย่างไรหรือมีลักษณะอย่างไร โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「ประธาน」+は +「คำนาม」+が +「คุณศัพท์」+です
 「N」+は +「N」+が +「adj」+です
ตัวอย่าง (1)
あなた は 何 が 好き です か
Anata wa nani ga suki desu ka
คุณชอบอะไรครับ/ค่ะ
 
私 は りんご が 好き です
Watashi wa ringo ga suki desu
ฉันชอบแอปเปิ้ลครับ/ค่ะ
 
田中さん は りんご が 好き では ありません
Tanaka-san wa ringo ga suki dewa arimasen
คุณทานากะชอบแอปเปิ้ลไหมครับ/ค่ะ
 
田中さん は イチゴ が 好き です
Tanaka-san wa ichigo ga suki desu
คุณทานากะชอบสตรอเบอรี่ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)~は~が好きです มีความหมายว่าประธานของประโยคชอบหรือไม่ชอบอะไร
โดย は เป็นคำช่วยเพื่อระบุประธาน ส่วน が เป็นคำช่วยระบุคำนามที่ชอบ เช่น
---> 私 は りんご が 好き です Watashi wa ringo ga suki desu ฉันชอบแอปเปิ้ล หรือ
---> 私 は りんご が 好き では ありません Watashi wa ringo ga suki dewa arimasen ฉันไม่ชอบแอปเปิ้ล
2)~は~が+คำคุณศัพท์+です จะมีความหมายว่าประธานมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น
ตัวอย่างที่ ⑤ キリン は 首 が 長い です Kirin wa kubi ga nagai desu ยีราฟคอยาว
โดย は เป็นคำช่วยเพื่อระบุว่ากำลังพูดถึงเรื่องของประธาน คือ ยีราฟ
ส่วน が เป็นคำช่วยเพื่อระบุคำนาม คือ คอ ว่ามีลักษณะอย่างไร
3)โครงสร้างประโยค ~は~が~です เป็นรูปแบบประโยคที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน จึงควรศึกษาให้เข้าใจโดยการเปรียบเทียบกับการใช้คำว่า ~は~です และการใช้คำว่า ~が~です ในบทก่อนหน้านี้ด้วย
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)บางครั้งเราอาจเคยได้ยินคนญี่ปุ่นพูดประโยค ~は~が~です โดยไม่ใช้คำช่วยใดๆเลย เช่น
私 タイ人 好き です Watashi taijin suki desu ฉันชอบคนไทยครับ/ค่ะ
แต่ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ผู้ที่ยังไม่ได้เรียนรู้ไวยากรณ์อย่างแตกฉาน ไม่ควรพูดในลักษณะนี้โดยเด็ดขาด เพราะหากใช้คำช่วยในประโยคสั้นๆได้ไม่ถูกต้อง ในอนาคตจะไม่สามารถผูกประโยคยาวๆ ซึ่งต้องใช้คำช่วยที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นได้

คำกริยา คำคุณศัพท์

โครงสร้างภาษา
 ~ます เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「V」+ます เป็นกริยาบอกเล่า
「V」+ません เป็นกริยาปฎิเสธ
 「V」+ますか เป็นกริยาคำถาม
「V」+ませんか เป็นกริยาปฏิเสธที่เป็นคำถาม
ตัวอย่าง (1)
食べます。
tabemasu
ทานครับ/ค่ะ
 
食べません。
tabemasen
ไม่ทานครับ/ค่ะ
 
食べます か。
tabemasu ka
ทานไหมครับ/ค่ะ
 
食べません か。
tabemasen ka
ไม่ทานหรือครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ เปลี่ยนรูปได้ 4 ลักษณะ คือ
~ます -masu เป็นกริยาบอกเล่า
~ません -masen เป็นกริยาปฎิเสธ
~ますか -masu ka เป็นกริยาคำถาม
~ませんか -masen ka เป็นกริยาปฏิเสธที่เป็นคำถาม
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ในภาษาพูด จะอ่านออกเสียง ~ます ให้กระชับ โดยออกเสียงว่า mas เช่น
食べます (tabemasu) ออกเสียงเป็น tabemas
勉強しますか (benkyou shimasu ka) ออกเสียงเป็น benkyou shimas ka 

โครงสร้างภาษา
 ~ましょう เป็นคำกริยาชักชวนในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「V」+ましょう เป็นการชักชวนในรูปบอกเล่า
「V」+ましょうか เป็นการชักชวนในรูปคำถาม
ตัวอย่าง (1)
遊びましょう。
asobi mashou
เล่นกันครับ/ค่ะ
 
遊びましょう か。
asobi mashou ka
เล่นกันไหมครับ/ค่ะ
 
止めましょう。
yame mashou
เลิกกันเถอะครับ/ค่ะ
 
止めましょう か。
yame mashou ka
เลิกกันไหมครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)~ましょう เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ เพื่อชักชวนคู่สนทนาให้ทำด้วยกัน
~ましょうか เป็นคำกริยาในรูปคำถาม เพื่อสอบถามหรือโน้มน้าวคู่สนทนาให้ทำด้วยกัน
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)การใช้ ~ましょう จะใช้ควบคู่กับคำว่า いっしょに (issho ni) เพื่อให้มีความหมายที่ชัดเจนว่าเป็นการชวนให้ทำด้วยกันก็ได้ เช่น
いっしょに 勉強 しましょう (issho ni benkyou shimashou) : เรียนด้วยกันเถอะ 
โครงสร้างภาษา
 ~い เป็นคำคุณศัพท์ซึ่งขยายคำนาม โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「A」+い +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปบอกเล่า
「A」+い +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปปฏิเสธ
ตัวอย่าง (1)
大きい 山。
ookii yama
ภูเขาใหญ่
 
大きくない 山。
ookikunai yama
ภูเขาไม่ใหญ่
 
小さい 川。
chiisai kawa
แม่น้ำเล็ก
 
小さくない 川。
chiisakunai kawa
แม่น้ำไม่เล็ก
 
คำอธิบาย
1)คำคุณศัพท์ (Adjective) คือ คำขยายคำนาม เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว ฯลฯ
2)คำคุณศัพท์ในกลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วยคำว่า ~い เสมอ และสามารถนำไปขยายคำนามได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
大きい 山 (ookii yama) -> ภูเขาใหญ่
高い 山 (takai yama) -> ภูเขาสูง
3)คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นจะอยู่หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น いい人 (ii hito) -> คนดี
ซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทยที่คำคุณศัพท์จะอยู่หลังคำนามที่ต้องการขยาย เช่น คนดี
4)การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ในอยู่ในรูปปฏิเสธ ทำได้โดยเปลี่ยนคำว่า ~い เป็น ~くない เช่น
大きくない 山 (ookikunai yama) -> ภูเขาไม่ใหญ่
高くない 山 (takakunai yama) -> ภูเขาไม่สูง
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ จะต้องพูดคำคุณศัพท์และคำนามให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 2 : 大きくない 山 (ookikunai yama) จะต้องพูดว่า ookikunaiyama
โครงสร้างภาษา
 ~な~ เป็นคำคุณศัพท์ซึ่งขยายคำนาม โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「A」+な +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปบอกเล่า
「A」+ではない +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปปฏิเสธ
ตัวอย่าง (1)
静か な 公園
shizuka na kouen
สวนสาธารณะที่เงียบสงบ
 
静か ではない 公園
shizuka dewa nai kouen
สวนสาธารณะที่ไม่เงียบ
 
丈夫 な 人
joubu na hito
คนแข็งแรง
 
丈夫 ではない 人
joubu dewa nai hito
คนไม่แข็งแรง
 
คำอธิบาย
1)คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 นี้ เมื่อนำไปขยายคำนาม จะต้องเติมคำว่า ~な ก่อน เช่น
好き な 人 (suki na hito) คนที่ชอบ
きれい な 人 (kirei na hito) คนสวย
2)ในการเปลี่ยนเป็นรูปปฏิเสธ จะต้องเติมคำว่า ~ではない
เช่น 好き ではない 人 (suki dewanai hito) คนที่ไม่ชอบ
3)คำว่า 大きい (ookii) และ 小さい (chiisai) แม้ว่าจะเป็นคำคุณศัพท์ในกลุ่มที่หนึ่ง แต่สามารถผันเสียงแบบกลุ่มที่สอง คือ
大き な 人 (ooki na hito) และ 小さ な 人 (chisa na hito) ได้
แต่จะผันเสียงในรูปปฏิเสธแบบกลุ่มที่สอง (大きい ではない) ไม่ได้ ต้องผันเสียงปฏิเสธในแบบกลุ่มที่หนึ่ง คือ 大きくない เท่านั้น
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำคุณศัพท์และคำนามที่ต้องการขยายให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 5 : きれい な 人 (kirei na hito) ควรพูดว่า kireinahito

การใช้คำว่า や

โครงสร้างภาษา
 ~や~ เป็นคำเชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่ากัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+や+「N2」
 「คำนาม 1」+や+「คำนาม 2」
ตัวอย่าง (1)
パタヤ や プーケット は タイ の 観光地 です。
Patayaa ya puuketto wa tai no kankouchi desu
พัทยาและภูเก็ตเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยครับ/ค่ะ
 
私 の 友達 は ソムチャイ さん や クンラヤー さん です。
Watashi no tomodachi wa Somuchai san ya Kunrayaa san desu
เพื่อนของฉันได้แก่คุณสมชายและคุณกุลยาครับ/ค่ะ
 
日本 の 都市 の 名前 は 東京 や 大阪 です。
Nihon no toshi no namae wa toukyou ya oosaka desu
ชื่อเมืองของประเทศญี่ปุ่นได้แก่โตเกียวและโอซากาครับ/ค่ะ
 
牛 や 馬 や 象 は 動物 です。
Ushi ya uma ya zou wa doubutsu desu
วัว ม้า และช้าง เป็นสัตว์ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)や เป็นคำช่วย ใช้เชื่อมคำนามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยมีควมหมายว่าคำนามที่กล่าวถึงนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง และยังมีสิ่งอื่นที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอยู่อีก
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 1 : パタヤやプーケットはタイの観光地です (Patayaa ya puuketto wa tai no kankouchi desu) ควรพูดว่า Patayaaya puukettowa tainokankouchidesu

การใช้คำว่า と

โครงสร้างภาษา
 ~と~ เป็นคำเชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่ากัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+と+「N2」
 「คำนาม 1」+と+「คำนาม 2」
ตัวอย่าง (1)
きゅうり と トマト は やさい です。
Kyuuri to tomato wa yasai desu
แตงกวาและมะเขือเทศเป็นผักครับ/ค่ะ
 
みかん と りんご は やさい では ありません。
Mikan to ringo wa yasai dewa arimasen
ส้มและแอปเปิ้ลไม่ใช่ผักครับ/ค่ะ
 
みかん と りんご は 何 です か。
Mikan to ringo wa nan desu ka
ส้มและแอปเปิ้ลเป็นอะไรหรือครับ/ค่ะ
 
みかん と りんご は くだもの です。
mikan to ringo wa kudamono desu
ส้มและแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)と เป็นคำช่วย ใช้เชื่อมคำนามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยคำนามนั้นจะเป็นประธานของประโยค หรืออยู่ในสถานะอื่นก็ได้
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)กรณีที่ใช้ と เพื่อเชื่อมคำหลายๆคำ ควรใช้ そして เป็นคำเชื่อมตัวสุดท้าย เช่น
みかん と りんご と いちご そして ぶどう は 果物 です (Mikan to ringo to ichigo to budouha kudamono desu)
ส้มและแอปเปิ้ลและสตรอเบอรี่และองุ่นเป็นผลไม้
2)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 2 : みかんとりんごは野菜ではありません (Mikan to ringo wa yasai dewa arimasen) ควรพูดว่า Mikanto ringowa yasaidewaarimasen