วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

คำมูลและคำประสม

คำมูล
ภาษาไทย                  
สะกดตรงตามมาตรา มีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก เช่น นั่ง นอน พ่อ แม่ น้า งู กา  หรือหาก
มีหลายพยางค์ อาจเกิดจากการกร่อนเสียง แทรกเสียง เติมพยางค์ เช่น หมากม่วง – มะม่วง ต้นขบ – ตะขบ   สายเอว – สะเอว   ผักเฉด – ผักกะเฉด   ลูกดุม – ลูกกระดุม   นกจิบ – นกกระจิบ   โจน – กระโจน   โดด – กระโดด
ไม่นิยมควบกล้ำ   ไม่มีตัวการันต์   มีความหมายหลายอย่างในลักษณะพ้องรูป 
มีรูปวรรณยุกต์กำกับ    ใช้ ใ เป็นส่วนใหญ่   ไ ใช้กับคำอ่าน
คำว่า ศอก ศึก เศิก เศร้า ศก กระดาษ ดาษ ฝีดาษ ฝรั่งเศส เป็นไทยแท้
  
ภาษาบาลี (ท่อง พยัญชนะวรรค ข้างต้น)
            มีตัวสะกดซ้ำกับพยัญชนะถัดไป  ไม่มี ศ ษ   ใช้ ฬ แทน ฑ   ไม่มี ฤ  ฤา ฦ ฦๅ รร
           
ภาษาสันสกฤต  จะมีควบกล้ำ   รร            ศ ษ      ฤ ฤา              สถ
บาลี                        สันสกฤต
คห                                คฤห
อิทธิ                              ฤทธิ์
อิสิ                                ฤษี
อุตุ                                ฤดู
จักก                              จักร
สุกก์                              ศุกร์
ขณะ                             กษณะ
ขัตติยะ                          กษัตริย์
เขต                               เกษตร
สิกขา                            ศึกษา
อัคค                              อัคร
นิจจ์                              นิตย์
สัจจะ                            สัตยา
อาทิจจ                          อาทิตย
วิชชา                             วิทยา
มัชฌิม                          มัธยม
ปัญญา                          ปรัชญา
กัญญา                          กันยา
สามัญ                           สามานย์
ถาวร                             สถาพร
สมุทท                           สมุทร
กัปป์                              กัลป์
ธัมม                              ธรรม
วิเสส                             วิเศษ

ภาษาเขมร      1) บัง บัน บรร บำ   เช่น บังคับ บังคม บันได บันดาล บันลือ บำบัด   
                      บำเหน็จ บังเหียน
2) แข โลด เดิน นัก อวย ศก เลิก บาย มาน
3) ราชาศัพท์ เขนย ขนง เสด็จ สมเด็จ อาจ ไถง
4) สะกดด้วย จ ร ล ญ เช่น อร ถวิล เพ็ญ ครวญ จมูก อัญเชิญ
ภาษาจีน                  เจ้าสัว โจ๊ก เจ๊ง เจ๋ง เกาเหลา เก้าอี้ กวยจั๊บ ก๋วยเตี๋ยว
ภาษาญี่ปุ่น               คาราเต้ เคนโด้ กิโมโน
ภาษาเปอร์เซีย           กุหลาบ  ชุกชี  สุหร่าย  ยี่หร่า
ภาษาทมิฬ                ตะกั่ว อาจาด สาเก กุลี
ภาษาชวา มลายู         มังคุด มะละกอ บุหลัน บุหรง น้อยหน่า กริช โสร่ง สลัด
ภาษาโปรตุเกส           สบู่ ปิ่นโต เหรียญ กะละแม
ภาษาฝรั่งเศส             กงสุล กรัม ลิตร

คำมูลเหล่านี้ เข้ามาในภาษาไทยจากการติดต่อซื้อขาย และการศาสนา ซึ่งแม้จะมีการยืมมาใช้แล้ว ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงต้องมีการสร้างคำขึ้นมาใหม่ จากวิธีการดังต่อไปนี้



การประสมคำ
การประสมคำ คือ การนำคำมูลในภาษามาเข้าคู่กันเพื่อให้เกิดเป็นความหมายใหม่ที่ยังคงมีเค้าความหมายเดิมอยู่ โดยมักให้คำแรกเป็นคำที่มีความหมายเป็นหลักของคำนั้น
ตัวอย่าง แม่ทัพ หลังคา พัดลม ไฟฟ้า คนรถ ยินดี หายใจ ยาดับกลิ่น อ่างเก็บน้ำ ชาวนา ชาวสวน ช่างทอง เครื่องมือ การบ้าน การเมือง (ต่างจากอาการนาม เพราะไม่ได้นำหน้ากริยา)
ข้อสังเกต  คำประสม ต้องเป็นเนื้อความใหม่ ไม่ใช่เนื้อความขยาย เช่น
มะม่วงกวน มะม่วงแช่อิ่ม ข้าวเหนียวมะม่วง VS มะม่วงเก่า มะม่วงเน่า มะม่วงของเธอ
เด็กดอง เด็กปั๊ม เด็กยกของ VS เด็กน่ารัก เด็กดื้อ เด็กตัวโต

แม่บ้าน แม่ทัพ แม่น้ำ VS แม่เขา แม่เธอ แม่ฉัน   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น