วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ประโยคบอกเล่า

โครงสร้างภาษา
 ~は~です เป็นประโยคบอกเล่าที่สุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+は+「N2」+です。
 「ประธาน」+は+「คำอธิบายประธาน」+です。
ตัวอย่าง (1)
あなた は 日本人 です。
Anata wa nihonjin desu
คุณเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
 
私 は タイ人 です。
Watashi wa taijin desu
ฉันเป็นคนไทย
 
私 は ソムチャイ です。
Watashi wa somuchai desu
ผมชื่อสมชาย
 
大学生 です。
Daigakusei desu
นักศึกษาครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)は เป็นคำช่วยเพื่อระบุว่าคำนามที่อยู่ก่อนหน้านั้น คือ ประธานของประโยค โดยอ่านออกเสียงว่า わ (wa)
2)です เป็นคำจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
3)กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)大学生です : (ฉันเป็น) นักศึกษาครับ/ค่ะ
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)です เป็นคำจบประโยคอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรใช้คำว่า です ในการพูดทุกครั้ง
2)ในภาษาพูด มักจะออกเสียง です ให้กระชับ โดยออกเสียงว่า des
3)การเรียกชื่อคน เมื่อจะเรียกชื่อผู้อื่นให้เติมคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ แต่หากเรียกชื่อตนเองไม่ต้องมีคำว่า さん เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : 私 は ソムチャイ です (Watashi wa somuchai desu) : ผมชื่อสมชายครับ
ตัวอย่างที่ 5 : ソムチャイ さん は タイ人 です (Somuchaisan wa taijin desu) : คุณสมชายเป็นคนไทยครับ/ค่ะ
4)คำช่วย เป็นคำที่มีความสำคัญมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อใช้ประโยคยาวๆที่มีคำนามหลายคำ คำนามแต่ละคำจะต้องตามท้ายด้วยคำช่วยเสมอ เพื่อให้รู้ว่าคำนามนั้นมีหน้าที่อย่างไรในประโยค
5)ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไวยากรณ์ญี่ปุ่น จะใช้คำช่วยผิดบ่อยๆ หรือบางคนก็จะไม่ใช้คำช่วยเลย จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารประโยคยาวๆกับคนญี่ปุ่นได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ง่าย ดังนั้น จึงควรฝึกฝนและใช้คำช่วยเสมอ
6)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป
เช่น ตัวอย่างที่ 2 : Watashi wa taijin desu ควรพูดว่า watashiwa taijindesu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น