วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ส่วนขยายกรรม

โครงสร้างภาษา
 を เป็นคำช่วยขยายคำนาม เพื่อแสดงว่าคำนามนั้นเป็นกรรมของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「ประธาน」 + は + 「คำนาม」+ 「กริยา」+ます
 「N」 + は + 「N」+ 「V」+ます
ตัวอย่าง (1)
私 は テレビ を 見ます
Watashi wa terebi wo mimasu
ฉันดูทีวีครับ/ค่ะ
 
お父さん は 新聞 を 読みます
Otousan wa shinbun wo yomimasu
คุณพ่ออ่านหนังสือพิมพ์ครับ/ค่ะ
 
お母さん は ご飯 を 作ります
Okaasan wa gohan wo tsukurimasu
คุณแม่ทำอาหารครับ/ค่ะ
 
弟 は ゲーム を 遊びます
Otooto wa geemu wo asomasu
น้องชายเล่นเกมส์ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)を เป็นคำช่วยเพื่อขยายคำนามว่าเป็นกรรมของประโยค
2)คำนามที่เป็นกรรม จะต้องวางไว้ข้างหน้าคำกริยาเสมอ
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ทำไมประโยคในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่เรียงคำเหมือนกับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

เช่น ฉันทานข้าว ทำไมในภาษาญี่ปุ่น จึงใช้ว่า ฉัน ข้าว ทาน
เรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยาก

ประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีโครงสร้างพื้นฐาน 2 ส่วน คือ 1)ส่วนที่เป็นประธาน และ 2)ส่วนที่เป็นกริยา
ประโยค "ฉันทานข้าว" มีส่วนที่เป็นประธาน คือ "ฉัน" และส่วนที่เป็นกริยา คือ "ทาน"

ในภาษาญี่ปุ่น วลีที่ขยายประธาน จะต้องวางไว้หน้าประธาน และวลีที่ขยายกริยา จะต้องวางไว้หน้าคำกริยาเสมอ
ดังนั้น "ข้าว" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายกริยา จึงต้องวางไว้หน้าคำว่า "ทาน" นั่นเอง
2)เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างประโยค คือ "ฉันดื่มน้ำเย็น"

คำว่า "เย็น : tsumetai" เป็นคำคุณศัพท์ขยาย "น้ำ : mizu" จึงต้องนำคำว่า "เย็น" ไปวางไว้หน้า "น้ำ"
คำว่า "น้ำเย็น" จึงต้องพูดว่า --> つめたい みず tsumetai mizu

แต่ "น้ำเย็น" ก็เป็นส่วนที่คำกริยาว่า "ดื่ม : nomimasu" ดังนั้น จึงต้องนำคำว่า "น้ำเย็น" ไปไว้หน้า "ดื่ม" อีกต่อหนึ่ง

ฉันดื่มน้ำเย็น จึงต้องพูดว่า 私 は つめたい 水 を 飲みます Watashi wa tsumetai mizu wo nomimasu

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น