วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

Noun

Noun เเปลเป็นไทยได้ว่า ชื่อหรือคนทั่วไปมักเรียกตรงกันว่า นาม หรือ คำนาม ซึ่งเป็นชื่อที่เราใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คุณสมบัติ หรือคุณค่าต่างๆ จะเเบ่งออกเป็น 8 ประเภทด้วยกันคือ
1. Common Noun หรือ สามานยนาม คือ นามที่เป็นชื่อทั่วๆไปของ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจง เป็นได้ทั้งนามที่นับได้ (Countable) และนามที่นับไม่ได้ (Uncountable) เข้าใจได้แบบง่ายๆคือ คำนามใดก็ตามที่ไม่ใช่ Proper Nouns ก็คือ Common Noun นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
  • คน : girl, man, woman  เช่น The girl eats an orange under the tree.
  • สัตว์: bird, cat, dog เช่น The dog runs away from home.
  • สิ่งของ: table, box, spoon เช่น This table is very old.
  • สถานที่: office, house, temple เช่น He built a new house.
จากตัวอย่างประโยค คำว่า girl, dog, house, table คือ Noun เเปลว่าเด็กผู้หญิง หมา บ้าน โต๊ะ ซึ่งไม่ได้ชี้เฉพาะว่าเป็นเด็กหญิงคนไทย หมาชื่ออะไร โต๊ะตัวไหน หรือบ้านหลังไหน
2. Proper Noun หรือ วิสามานยนาม คือคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของ Common Noun และต้องเขียนขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ ไม่ว่าคำนี้จะไปอยู่ในส่วนไหนของประโยคก็ตาม เช่น
  • Obama lives in the White House.
  • Bangkok is the capital city of Thailand.
  • Apple is more trendy than Microsoft.
3. Collective Noun หรือ สมุหนาม คือนามที่เป็นชื่อของหมู่ คณะ ฝูง กลุ่ม พวก ปกติแล้วเรามักเห็นว่า Collective Noun จะใช้คู่กับ Common Noun โดยมี of มาคั่น ยกตัวอย่างเช่น family, team, school of fish, flock of bird
4. Material Noun หรือ วัตุนาม คือนามที่เป็นชื่อของสิ่งที่กลุ่มก้อน เป็นเนื้อวัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุ ของเเข็ง ของเหลว บางตำราเรียกว่า Mass Noun นามประเภทนี้จะแสดงความมากน้อยด้วยปริมาณ จะไม่มีการใช้ตัวเลขเเทนจำนวน และไม่ใช้ Article นำหน้า paper, juice, sand, soap
โดยปกติแล้วนามประเภทนี้มีรูปเป็นเอกพจน์ แต่สามารถแสดงความเป็นพหูพจน์ได้ด้วยสูตรนี้ค่ะ Number + Common Noun + Of + Material Noun เช่น
  • two pieces of paper = กระดาษ 2 เเผ่น
  • a glass of juice = น้ำผลไม้ 1 แก้ว
  • five bags of sand = ทราย 5 ถุง
  • three bars of soap = สบู 3 ก้อน
5. Abstract Noun หรือ อาการนาม คือคำนามของสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทการรับรู้ทั้ง 5 ประเภท ไม่มีตัวตน เป็นชื่อเรียสภาวะ อารมณ์ อาการ ความรู้สึก ถ้าแปลเป็นไทยก็จะขึ้นต้นด้วยคำว่า การ หรือ ความ เช่น death, beauty, pleasure , youth
6. Noun-Equivalent หรือ นามสมมูลย์  คือคำที่ไม่ได้เป็นคำนามแต่นำมาใช้นำหน้าเป็นคำนาม แบ่งออกได้ 5 ประเภทคือ
  • Infinitive  คือคำที่นำหน้าด้วย to เช่น to swim, to walk, to go ตัวอย่างเช่น I like to swim.
  • Gerund คือกริยาที่เดิม ing (verb + ing) เช่น swimming, walking, going ตัวอย่างเช่น Swimming is good for you.
  • Adjective คือคำคุณศัพท์ แต่พวกนี้จะนำมาใช้เป็นนามได้ต้องมี The นำหน้า เสมอ และมีรูปเป็นพหูพจน์ เช่นThe rich, the poor, the good, the bad. ยกตัวอย่างประโยคเช่น  The poor don’t have money.
  • Phrase หรือวลีก็สามารถนำมาใช้เป็นคำนามได้เหมือนกัน เช่น how to cook, what to do, who to blame ตัวอย่างเช่น I don’t know how to cook.
  • Clause หรือ อนุประโยค นำมาใช้อย่างนามได้เหมือนกัน เช่น when she cries, where he lives, what I do. My parents know where he lives.
7. Compound Noun หรือ นามผสม  คือคำนามที่เกิดจากการนำคำนามสองคำมาเขียนติดกันเป็นคำเดียวกัน หรือบางทีก็อาจจะเขียนคั่นด้วย hyphen (-)  นามผสมเกิดขึ้นได้หลักๆจาก 3 รูปแบบต่อไปนี้
  • การนำเอานาม 2 คำ มาเขียนติดกันเช่น cowboy (cow + boy), bellboy (bell + boy) , sunlight (sun-light)
  • การสร้างคำนามผสมด้วยเครื่องหมาย hyphen ส่วนใหญ่จะใช่ คั่นเพื่อความชัดเจน ไม่ให้มีความหมายกำกวม เช่น water-bottle /water bottle  คนเห็นแบบนี้ก็จะเข้าใจว่านี่คือขวดน้ำ ไม่ใช้น้ำที่เอามาทำเป็นขวด  ตัวอย่างอื่นๆเช่น paper-clip /paper clip คือที่หนีบกระดาษ ไม่ใช่กระดาษที่นำมาหนีบ เป็นต้น
  • การนำนาม 2 ตัวมาใช้ร่วมกัน โดยคำนามที่อยู่หน้าจะขยายคำนามที่อยู่หลัง สั่งเกตุให้ดีก็คือการใช้คำนามขยายนาม (ทำหน้าที่เป็น adjective) นั่นเอง เช่น football stadium, apple tree, dish washer

8. Agent Noun หรือ คือนามที่แสดงความเป็นผู้กระทำ มีรูปมาจากกริยา และจะเติม suffix  -er, or, ent, ant, ist, และ ician ท้ายกริยานั้น เช่น act – actor, music – musician, sail-sailor, study – student, attend – attendant เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น