วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

คำกริยา คำคุณศัพท์

โครงสร้างภาษา
 ~ます เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「V」+ます เป็นกริยาบอกเล่า
「V」+ません เป็นกริยาปฎิเสธ
 「V」+ますか เป็นกริยาคำถาม
「V」+ませんか เป็นกริยาปฏิเสธที่เป็นคำถาม
ตัวอย่าง (1)
食べます。
tabemasu
ทานครับ/ค่ะ
 
食べません。
tabemasen
ไม่ทานครับ/ค่ะ
 
食べます か。
tabemasu ka
ทานไหมครับ/ค่ะ
 
食べません か。
tabemasen ka
ไม่ทานหรือครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ เปลี่ยนรูปได้ 4 ลักษณะ คือ
~ます -masu เป็นกริยาบอกเล่า
~ません -masen เป็นกริยาปฎิเสธ
~ますか -masu ka เป็นกริยาคำถาม
~ませんか -masen ka เป็นกริยาปฏิเสธที่เป็นคำถาม
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ในภาษาพูด จะอ่านออกเสียง ~ます ให้กระชับ โดยออกเสียงว่า mas เช่น
食べます (tabemasu) ออกเสียงเป็น tabemas
勉強しますか (benkyou shimasu ka) ออกเสียงเป็น benkyou shimas ka 

โครงสร้างภาษา
 ~ましょう เป็นคำกริยาชักชวนในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「V」+ましょう เป็นการชักชวนในรูปบอกเล่า
「V」+ましょうか เป็นการชักชวนในรูปคำถาม
ตัวอย่าง (1)
遊びましょう。
asobi mashou
เล่นกันครับ/ค่ะ
 
遊びましょう か。
asobi mashou ka
เล่นกันไหมครับ/ค่ะ
 
止めましょう。
yame mashou
เลิกกันเถอะครับ/ค่ะ
 
止めましょう か。
yame mashou ka
เลิกกันไหมครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)~ましょう เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ เพื่อชักชวนคู่สนทนาให้ทำด้วยกัน
~ましょうか เป็นคำกริยาในรูปคำถาม เพื่อสอบถามหรือโน้มน้าวคู่สนทนาให้ทำด้วยกัน
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)การใช้ ~ましょう จะใช้ควบคู่กับคำว่า いっしょに (issho ni) เพื่อให้มีความหมายที่ชัดเจนว่าเป็นการชวนให้ทำด้วยกันก็ได้ เช่น
いっしょに 勉強 しましょう (issho ni benkyou shimashou) : เรียนด้วยกันเถอะ 
โครงสร้างภาษา
 ~い เป็นคำคุณศัพท์ซึ่งขยายคำนาม โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「A」+い +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปบอกเล่า
「A」+い +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปปฏิเสธ
ตัวอย่าง (1)
大きい 山。
ookii yama
ภูเขาใหญ่
 
大きくない 山。
ookikunai yama
ภูเขาไม่ใหญ่
 
小さい 川。
chiisai kawa
แม่น้ำเล็ก
 
小さくない 川。
chiisakunai kawa
แม่น้ำไม่เล็ก
 
คำอธิบาย
1)คำคุณศัพท์ (Adjective) คือ คำขยายคำนาม เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว ฯลฯ
2)คำคุณศัพท์ในกลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วยคำว่า ~い เสมอ และสามารถนำไปขยายคำนามได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
大きい 山 (ookii yama) -> ภูเขาใหญ่
高い 山 (takai yama) -> ภูเขาสูง
3)คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นจะอยู่หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น いい人 (ii hito) -> คนดี
ซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทยที่คำคุณศัพท์จะอยู่หลังคำนามที่ต้องการขยาย เช่น คนดี
4)การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ในอยู่ในรูปปฏิเสธ ทำได้โดยเปลี่ยนคำว่า ~い เป็น ~くない เช่น
大きくない 山 (ookikunai yama) -> ภูเขาไม่ใหญ่
高くない 山 (takakunai yama) -> ภูเขาไม่สูง
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ จะต้องพูดคำคุณศัพท์และคำนามให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 2 : 大きくない 山 (ookikunai yama) จะต้องพูดว่า ookikunaiyama
โครงสร้างภาษา
 ~な~ เป็นคำคุณศัพท์ซึ่งขยายคำนาม โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「A」+な +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปบอกเล่า
「A」+ではない +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปปฏิเสธ
ตัวอย่าง (1)
静か な 公園
shizuka na kouen
สวนสาธารณะที่เงียบสงบ
 
静か ではない 公園
shizuka dewa nai kouen
สวนสาธารณะที่ไม่เงียบ
 
丈夫 な 人
joubu na hito
คนแข็งแรง
 
丈夫 ではない 人
joubu dewa nai hito
คนไม่แข็งแรง
 
คำอธิบาย
1)คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 นี้ เมื่อนำไปขยายคำนาม จะต้องเติมคำว่า ~な ก่อน เช่น
好き な 人 (suki na hito) คนที่ชอบ
きれい な 人 (kirei na hito) คนสวย
2)ในการเปลี่ยนเป็นรูปปฏิเสธ จะต้องเติมคำว่า ~ではない
เช่น 好き ではない 人 (suki dewanai hito) คนที่ไม่ชอบ
3)คำว่า 大きい (ookii) และ 小さい (chiisai) แม้ว่าจะเป็นคำคุณศัพท์ในกลุ่มที่หนึ่ง แต่สามารถผันเสียงแบบกลุ่มที่สอง คือ
大き な 人 (ooki na hito) และ 小さ な 人 (chisa na hito) ได้
แต่จะผันเสียงในรูปปฏิเสธแบบกลุ่มที่สอง (大きい ではない) ไม่ได้ ต้องผันเสียงปฏิเสธในแบบกลุ่มที่หนึ่ง คือ 大きくない เท่านั้น
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำคุณศัพท์และคำนามที่ต้องการขยายให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 5 : きれい な 人 (kirei na hito) ควรพูดว่า kireinahito

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น