วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

หลักภาษา

หลักภาษา


1.ภาษาไทย

2.ภาษาอังกฤษ

3.ภาษาญี่ปุ่น

คำช่วยขยายเวลา

โครงสร้างภาษา
 ในการพูดเกี่ยวกับระยะเวลา ไม่ต้องมีคำช่วย
 「ระยะเวลา」 + 「กริยา」+ます
 「ระยะเวลา」 + 「V」+ます
ตัวอย่าง (1)
私 は 8時間 寝ます
Watashi wa hachi-jikan nemasu
ฉันนอน 8 ชั่วโมงครับ/ค่ะ
 
テレビ を 2時間 見ます
Terebi wo ni-jikan mimasu
ดูทีวี 2 ชั่วโมงครับ/ค่ะ
 
田中 先生 は 一週間 休みます
Tanaka sensei wa isshuu-kan yasumimasu
อาจารย์ทานากะหยุด 1 สัปดาห์ครับ/ค่ะ
 
山田 さん は 一年間 タイ語 を 勉強 します
Yamada-san wa ichi-nen-kan tai-go wo benkyou shimasu
คุณยามาดะเรียนภาษาไทย 1 ปีครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)โดยทั่วไป คำนามทุกๆคำในภาษาญี่ปุ่น เมื่อจะใช้ในประโยคใดๆ มักจะต้องใช้ควบคู่กับคำช่วย เพื่อระบุว่าคำนามนั้นทำหน้าที่เป็นอะไรในประโยค

แต่คำนามที่เกี่ยวกับระยะเวลา เช่น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที ไม่ต้องใช้คำช่วย
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ในบทนี้ จะเห็นว่ามีประโยคที่มีคำนาม 2 คำ ที่ขยายคำกริยาตัวเดียวกัน เช่น
ตัวอย่างที่ ② จะมีทั้งคำว่า "ทีวี" และ "2 ชั่วโมง" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายคำกริยา คือ "ดู"

กรณีเช่นนี้ จะเกิดความสงสัยว่า ควรจะเรียงลำดับคำนาม 2 ตัวนี้อย่างไร คือ
テレビ を 2時間 見ます (terebi wo ni-jikan mimasu) หรือ
2時間 テレビ を 見ます (ni-jikan terebi wo mimasu)

คำตอบคือ สามารถใช้ได้ทั้ง 2 แบบ แต่จะมีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย คือ
คำนามที่อยู่ใกล้คำกริยา จะเป็นคำสำคัญที่ต้องการสื่อสารมากกว่า

テレビ を 2時間 見ます จึงมีความหมายว่า "ดู 2 ชั่วโมง" ส่วนคำว่า "ทีวี" เป็นวลีที่มาขยายอีกครั้งหนึ่งว่า ที่ดู 2 ชั่วโมงนั้น ดูอะไร

2時間 テレビ を 見ます จึงมีความหมายว่า "ดูทีวี" ส่วนคำว่า "2 ชั่วโมง" เป็นวลีที่มาขยายต่อว่า ดูทีวีนานแค่ไหน

ส่วนขยายกรรม

โครงสร้างภาษา
 を เป็นคำช่วยขยายคำนาม เพื่อแสดงว่าคำนามนั้นเป็นกรรมของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「ประธาน」 + は + 「คำนาม」+ 「กริยา」+ます
 「N」 + は + 「N」+ 「V」+ます
ตัวอย่าง (1)
私 は テレビ を 見ます
Watashi wa terebi wo mimasu
ฉันดูทีวีครับ/ค่ะ
 
お父さん は 新聞 を 読みます
Otousan wa shinbun wo yomimasu
คุณพ่ออ่านหนังสือพิมพ์ครับ/ค่ะ
 
お母さん は ご飯 を 作ります
Okaasan wa gohan wo tsukurimasu
คุณแม่ทำอาหารครับ/ค่ะ
 
弟 は ゲーム を 遊びます
Otooto wa geemu wo asomasu
น้องชายเล่นเกมส์ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)を เป็นคำช่วยเพื่อขยายคำนามว่าเป็นกรรมของประโยค
2)คำนามที่เป็นกรรม จะต้องวางไว้ข้างหน้าคำกริยาเสมอ
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ทำไมประโยคในภาษาญี่ปุ่นจึงไม่เรียงคำเหมือนกับภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

เช่น ฉันทานข้าว ทำไมในภาษาญี่ปุ่น จึงใช้ว่า ฉัน ข้าว ทาน
เรื่องนี้อธิบายได้ไม่ยาก

ประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีโครงสร้างพื้นฐาน 2 ส่วน คือ 1)ส่วนที่เป็นประธาน และ 2)ส่วนที่เป็นกริยา
ประโยค "ฉันทานข้าว" มีส่วนที่เป็นประธาน คือ "ฉัน" และส่วนที่เป็นกริยา คือ "ทาน"

ในภาษาญี่ปุ่น วลีที่ขยายประธาน จะต้องวางไว้หน้าประธาน และวลีที่ขยายกริยา จะต้องวางไว้หน้าคำกริยาเสมอ
ดังนั้น "ข้าว" ซึ่งเป็นวลีที่ขยายกริยา จึงต้องวางไว้หน้าคำว่า "ทาน" นั่นเอง
2)เพื่อให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างประโยค คือ "ฉันดื่มน้ำเย็น"

คำว่า "เย็น : tsumetai" เป็นคำคุณศัพท์ขยาย "น้ำ : mizu" จึงต้องนำคำว่า "เย็น" ไปวางไว้หน้า "น้ำ"
คำว่า "น้ำเย็น" จึงต้องพูดว่า --> つめたい みず tsumetai mizu

แต่ "น้ำเย็น" ก็เป็นส่วนที่คำกริยาว่า "ดื่ม : nomimasu" ดังนั้น จึงต้องนำคำว่า "น้ำเย็น" ไปไว้หน้า "ดื่ม" อีกต่อหนึ่ง

ฉันดื่มน้ำเย็น จึงต้องพูดว่า 私 は つめたい 水 を 飲みます Watashi wa tsumetai mizu wo nomimasu

ส่วนขยายประธาน

โครงสร้างภาษา
 は เป็นคำช่วยขยายคำนาม เพื่อแสดงว่าคำนามนั้นเป็นประธานของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「คำนาม」+は +「วลี」 โดยวลีจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำคุณศัพท์ ก็ได้
 「N」+は +「phrase」
ตัวอย่าง (1)
私 は 行きます
Watashi wa ikimasu
ฉันจะไปครับ/ค่ะ
 
あなた は 誰 と 行きます か
Anata wa dare to ikimasu ka
คุณจะไปกับใครครับ/ค่ะ
 
私 は 田中さん と 行きます
Watashi wa Tanaka san to ikimasu
ฉันจะไปกับคุณทานากะครับ/ค่ะ
 
あなた も 行きます か
Anata mo ikimasu ka
คุณก็จะไปไหมครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)は เป็นคำช่วยขยายประธาน โดยมีนัยยะว่าเป็นการเจาะจงพูดถึงเรื่องของประธานในประโยคเท่านั้น เช่น
ตัวอย่างที่ ① 私は行きます (watashi wa ikimasu) ฉันจะไป
  --> กำลังพูดถึงเรื่องของ "ฉัน" ว่าจะทำอะไร
ตัวอย่างที่ ⑤ 桜はきれいです (sakura wa kirei desu) ซากุระสวย
  --> กำลังพูดถึง "ซากุระ" ว่ามีลักษณะอย่างไร
ตัวอย่างที่ ⑨ これは私の傘です (kore wa watashi no kasa desu) นี่คือร่มของฉัน
  --> กำลังพูดถึง "สิ่งของชิ้นนี้" ว่าคืออะไร
2)は สามารถแทนด้วยคำว่า が ก็ได้
แต่จะมีความหมายแตกต่างไป ซึ่งจะอธิบายในบทถัดไป
3)は สามารถใช้ในประโยคที่เป็นคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำนามก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ ①-④ เป็นกรณีที่วลีเป็นคำกริยา
ตัวอย่างที่ ⑤-⑧ เป็นกรณีที่วลีเป็นคำคุณศัพท์
ส่วนตัวอย่างที่ ⑨-⑫ เป็นกรณีที่วลีเป็นคำนาม
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำคุณช่วยและคำนามที่ต้องการขยายให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 12 : あなた の 傘 は どれ です か (Anata no kasa wa dore desu ka)
ควรพูดว่า Anatano kasawa doredesuka
2)เนื่องจากคำว่า Anata no เป็นคำขยาย kasa และคำว่า wa ก็เป็นคำขยาย kasa เช่นเดียวกัน
ดังนั้น หากจะพูดให้เพราะยิ่งขึ้น ควรพูดว่า
Anatanokasawa doredesuka

โครงสร้างภาษา
 が เป็นคำช่วยขยายคำนาม เพื่อแสดงว่าคำนามนั้นเป็นประธานของประโยค มีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「คำนาม」+が +「วลี」 โดยวลีจะเป็นคำนาม คำกริยา หรือคำคุณศัพท์ ก็ได้
 「N」+が +「phrase」
ตัวอย่าง (1)
どれ が あなた の かばん です か
Dore ga anata no kaban desu ka
อันไหนคือกระเป๋าของคุณครับ/ค่ะ
 
これ が 私 の かばん です
kore ga watashi no kaban desu
อันนี้คือกระเป๋าของฉันครับ/ค่ะ
 
これ は 何 です か
kore wa nan desu ka
อันนี้คืออะไร
 
これ は 私 の かばん です
kore wa watashi no kaban desu
อันนี้คือกระเป๋าของฉันครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)が เป็นคำช่วยขยายประธาน โดยมีรูปแบบได้หลายอย่าง เช่น
「N」+が +「N」+です
「N」+が +「adj」+です
「N」+が +「V」
2)การใช้ が มีลักษณะคล้ายกับ は แต่มีความแตกต่าง คือ
が เป็นการกล่าวโดยทั่วไป ไม่ได้เจาะจงจะพูดถึงเรื่องประธานโดยตรง เช่น
ตัวอย่างที่ ② これ が 私 の かばん です (kore ga watashi no kaban desu) อันนี้คือกระเป๋าของฉัน
  --> ไม่มีเจตนาโดยตรงที่จะอธิบายว่า "อันนี้" คืออะไร
ซึ่งแตกต่างกับตัวอย่างที่ ④ これ は 私 の かばん です (kore ga watashi no kaban desu) อันนี้คือกระเป๋าของฉัน
  --> มีเจตนาโดยตรงที่จะอธิบายว่า "อันนี้" คืออะไร
3)私 は 行きます (Watashi wa ikimasu) ฉันจะไป
  --> มีเจตนาจะอธิบายว่า "ฉัน" จะทำอะไร
私 が 行きます (Watashi ga ikimasu) ฉันจะไป
  --> ไม่มีเจตนาเล่าว่า "ฉัน" จะทำอะไร .. เป็นเพียงเล่าว่า "ใคร" จะไป
4)กรณีที่วลีเป็น "คำคุณศัพท์" โดยทั่วไปจะใช้ が เป็นคำช่วยขยายประธาน เช่น ตัวอย่างที่ ⑨-⑫
ตัวอย่างที่ ⑨ 月 が 明るい です (Tsuki ga akarui desu) ดวงจันทร์สว่าง
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ผู้ที่เริ่มเรียนไวยากรณ์ญี่ปุ่น จะสับสนในการใช้คำว่า は และ が เป็นอย่างมาก

ในขั้นนี้ควรทำความเข้าใจว่า は ใช้ในกรณีที่ต้องการเจาะจงถึงประธานโดยตรง เพื่ออธิบายว่ามีประธานจะทำอะไร ประธานมีลักษณะอย่างไร

ส่วน が จะเป็นลักษณะการบอกเล่าทั่วไป เช่น ใครจะทำอะไร หรือใครเป็นอะไร เป็นต้น
โครงสร้างภาษา
 ~は~が~です เป็นประโยคบอกเล่า เพื่อแสดงว่าประธานเป็นอย่างไรหรือมีลักษณะอย่างไร โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「ประธาน」+は +「คำนาม」+が +「คุณศัพท์」+です
 「N」+は +「N」+が +「adj」+です
ตัวอย่าง (1)
あなた は 何 が 好き です か
Anata wa nani ga suki desu ka
คุณชอบอะไรครับ/ค่ะ
 
私 は りんご が 好き です
Watashi wa ringo ga suki desu
ฉันชอบแอปเปิ้ลครับ/ค่ะ
 
田中さん は りんご が 好き では ありません
Tanaka-san wa ringo ga suki dewa arimasen
คุณทานากะชอบแอปเปิ้ลไหมครับ/ค่ะ
 
田中さん は イチゴ が 好き です
Tanaka-san wa ichigo ga suki desu
คุณทานากะชอบสตรอเบอรี่ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)~は~が好きです มีความหมายว่าประธานของประโยคชอบหรือไม่ชอบอะไร
โดย は เป็นคำช่วยเพื่อระบุประธาน ส่วน が เป็นคำช่วยระบุคำนามที่ชอบ เช่น
---> 私 は りんご が 好き です Watashi wa ringo ga suki desu ฉันชอบแอปเปิ้ล หรือ
---> 私 は りんご が 好き では ありません Watashi wa ringo ga suki dewa arimasen ฉันไม่ชอบแอปเปิ้ล
2)~は~が+คำคุณศัพท์+です จะมีความหมายว่าประธานมีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น
ตัวอย่างที่ ⑤ キリン は 首 が 長い です Kirin wa kubi ga nagai desu ยีราฟคอยาว
โดย は เป็นคำช่วยเพื่อระบุว่ากำลังพูดถึงเรื่องของประธาน คือ ยีราฟ
ส่วน が เป็นคำช่วยเพื่อระบุคำนาม คือ คอ ว่ามีลักษณะอย่างไร
3)โครงสร้างประโยค ~は~が~です เป็นรูปแบบประโยคที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน จึงควรศึกษาให้เข้าใจโดยการเปรียบเทียบกับการใช้คำว่า ~は~です และการใช้คำว่า ~が~です ในบทก่อนหน้านี้ด้วย
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)บางครั้งเราอาจเคยได้ยินคนญี่ปุ่นพูดประโยค ~は~が~です โดยไม่ใช้คำช่วยใดๆเลย เช่น
私 タイ人 好き です Watashi taijin suki desu ฉันชอบคนไทยครับ/ค่ะ
แต่ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ผู้ที่ยังไม่ได้เรียนรู้ไวยากรณ์อย่างแตกฉาน ไม่ควรพูดในลักษณะนี้โดยเด็ดขาด เพราะหากใช้คำช่วยในประโยคสั้นๆได้ไม่ถูกต้อง ในอนาคตจะไม่สามารถผูกประโยคยาวๆ ซึ่งต้องใช้คำช่วยที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นได้

คำกริยา คำคุณศัพท์

โครงสร้างภาษา
 ~ます เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「V」+ます เป็นกริยาบอกเล่า
「V」+ません เป็นกริยาปฎิเสธ
 「V」+ますか เป็นกริยาคำถาม
「V」+ませんか เป็นกริยาปฏิเสธที่เป็นคำถาม
ตัวอย่าง (1)
食べます。
tabemasu
ทานครับ/ค่ะ
 
食べません。
tabemasen
ไม่ทานครับ/ค่ะ
 
食べます か。
tabemasu ka
ทานไหมครับ/ค่ะ
 
食べません か。
tabemasen ka
ไม่ทานหรือครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ เปลี่ยนรูปได้ 4 ลักษณะ คือ
~ます -masu เป็นกริยาบอกเล่า
~ません -masen เป็นกริยาปฎิเสธ
~ますか -masu ka เป็นกริยาคำถาม
~ませんか -masen ka เป็นกริยาปฏิเสธที่เป็นคำถาม
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ในภาษาพูด จะอ่านออกเสียง ~ます ให้กระชับ โดยออกเสียงว่า mas เช่น
食べます (tabemasu) ออกเสียงเป็น tabemas
勉強しますか (benkyou shimasu ka) ออกเสียงเป็น benkyou shimas ka 

โครงสร้างภาษา
 ~ましょう เป็นคำกริยาชักชวนในรูปคำสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「V」+ましょう เป็นการชักชวนในรูปบอกเล่า
「V」+ましょうか เป็นการชักชวนในรูปคำถาม
ตัวอย่าง (1)
遊びましょう。
asobi mashou
เล่นกันครับ/ค่ะ
 
遊びましょう か。
asobi mashou ka
เล่นกันไหมครับ/ค่ะ
 
止めましょう。
yame mashou
เลิกกันเถอะครับ/ค่ะ
 
止めましょう か。
yame mashou ka
เลิกกันไหมครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)~ましょう เป็นคำกริยาในรูปคำสุภาพ เพื่อชักชวนคู่สนทนาให้ทำด้วยกัน
~ましょうか เป็นคำกริยาในรูปคำถาม เพื่อสอบถามหรือโน้มน้าวคู่สนทนาให้ทำด้วยกัน
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)การใช้ ~ましょう จะใช้ควบคู่กับคำว่า いっしょに (issho ni) เพื่อให้มีความหมายที่ชัดเจนว่าเป็นการชวนให้ทำด้วยกันก็ได้ เช่น
いっしょに 勉強 しましょう (issho ni benkyou shimashou) : เรียนด้วยกันเถอะ 
โครงสร้างภาษา
 ~い เป็นคำคุณศัพท์ซึ่งขยายคำนาม โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「A」+い +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปบอกเล่า
「A」+い +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปปฏิเสธ
ตัวอย่าง (1)
大きい 山。
ookii yama
ภูเขาใหญ่
 
大きくない 山。
ookikunai yama
ภูเขาไม่ใหญ่
 
小さい 川。
chiisai kawa
แม่น้ำเล็ก
 
小さくない 川。
chiisakunai kawa
แม่น้ำไม่เล็ก
 
คำอธิบาย
1)คำคุณศัพท์ (Adjective) คือ คำขยายคำนาม เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว ฯลฯ
2)คำคุณศัพท์ในกลุ่มที่ 1 จะลงท้ายด้วยคำว่า ~い เสมอ และสามารถนำไปขยายคำนามได้โดยไม่ต้องมีคำช่วย เช่น
大きい 山 (ookii yama) -> ภูเขาใหญ่
高い 山 (takai yama) -> ภูเขาสูง
3)คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นจะอยู่หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น いい人 (ii hito) -> คนดี
ซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทยที่คำคุณศัพท์จะอยู่หลังคำนามที่ต้องการขยาย เช่น คนดี
4)การเปลี่ยนคำคุณศัพท์ในอยู่ในรูปปฏิเสธ ทำได้โดยเปลี่ยนคำว่า ~い เป็น ~くない เช่น
大きくない 山 (ookikunai yama) -> ภูเขาไม่ใหญ่
高くない 山 (takakunai yama) -> ภูเขาไม่สูง
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ จะต้องพูดคำคุณศัพท์และคำนามให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 2 : 大きくない 山 (ookikunai yama) จะต้องพูดว่า ookikunaiyama
โครงสร้างภาษา
 ~な~ เป็นคำคุณศัพท์ซึ่งขยายคำนาม โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 
 「A」+な +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปบอกเล่า
「A」+ではない +「N」 เป็นคำคุณศัพท์ในรูปปฏิเสธ
ตัวอย่าง (1)
静か な 公園
shizuka na kouen
สวนสาธารณะที่เงียบสงบ
 
静か ではない 公園
shizuka dewa nai kouen
สวนสาธารณะที่ไม่เงียบ
 
丈夫 な 人
joubu na hito
คนแข็งแรง
 
丈夫 ではない 人
joubu dewa nai hito
คนไม่แข็งแรง
 
คำอธิบาย
1)คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 นี้ เมื่อนำไปขยายคำนาม จะต้องเติมคำว่า ~な ก่อน เช่น
好き な 人 (suki na hito) คนที่ชอบ
きれい な 人 (kirei na hito) คนสวย
2)ในการเปลี่ยนเป็นรูปปฏิเสธ จะต้องเติมคำว่า ~ではない
เช่น 好き ではない 人 (suki dewanai hito) คนที่ไม่ชอบ
3)คำว่า 大きい (ookii) และ 小さい (chiisai) แม้ว่าจะเป็นคำคุณศัพท์ในกลุ่มที่หนึ่ง แต่สามารถผันเสียงแบบกลุ่มที่สอง คือ
大き な 人 (ooki na hito) และ 小さ な 人 (chisa na hito) ได้
แต่จะผันเสียงในรูปปฏิเสธแบบกลุ่มที่สอง (大きい ではない) ไม่ได้ ต้องผันเสียงปฏิเสธในแบบกลุ่มที่หนึ่ง คือ 大きくない เท่านั้น
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำคุณศัพท์และคำนามที่ต้องการขยายให้ติดกัน เช่น
ตัวอย่างที่ 5 : きれい な 人 (kirei na hito) ควรพูดว่า kireinahito

การใช้คำว่า や

โครงสร้างภาษา
 ~や~ เป็นคำเชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่ากัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+や+「N2」
 「คำนาม 1」+や+「คำนาม 2」
ตัวอย่าง (1)
パタヤ や プーケット は タイ の 観光地 です。
Patayaa ya puuketto wa tai no kankouchi desu
พัทยาและภูเก็ตเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยครับ/ค่ะ
 
私 の 友達 は ソムチャイ さん や クンラヤー さん です。
Watashi no tomodachi wa Somuchai san ya Kunrayaa san desu
เพื่อนของฉันได้แก่คุณสมชายและคุณกุลยาครับ/ค่ะ
 
日本 の 都市 の 名前 は 東京 や 大阪 です。
Nihon no toshi no namae wa toukyou ya oosaka desu
ชื่อเมืองของประเทศญี่ปุ่นได้แก่โตเกียวและโอซากาครับ/ค่ะ
 
牛 や 馬 や 象 は 動物 です。
Ushi ya uma ya zou wa doubutsu desu
วัว ม้า และช้าง เป็นสัตว์ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)や เป็นคำช่วย ใช้เชื่อมคำนามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยมีควมหมายว่าคำนามที่กล่าวถึงนั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง และยังมีสิ่งอื่นที่ยังไม่ได้กล่าวถึงอยู่อีก
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 1 : パタヤやプーケットはタイの観光地です (Patayaa ya puuketto wa tai no kankouchi desu) ควรพูดว่า Patayaaya puukettowa tainokankouchidesu

การใช้คำว่า と

โครงสร้างภาษา
 ~と~ เป็นคำเชื่อมคำนามที่มีสถานะเท่ากัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+と+「N2」
 「คำนาม 1」+と+「คำนาม 2」
ตัวอย่าง (1)
きゅうり と トマト は やさい です。
Kyuuri to tomato wa yasai desu
แตงกวาและมะเขือเทศเป็นผักครับ/ค่ะ
 
みかん と りんご は やさい では ありません。
Mikan to ringo wa yasai dewa arimasen
ส้มและแอปเปิ้ลไม่ใช่ผักครับ/ค่ะ
 
みかん と りんご は 何 です か。
Mikan to ringo wa nan desu ka
ส้มและแอปเปิ้ลเป็นอะไรหรือครับ/ค่ะ
 
みかん と りんご は くだもの です。
mikan to ringo wa kudamono desu
ส้มและแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)と เป็นคำช่วย ใช้เชื่อมคำนามตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป โดยคำนามนั้นจะเป็นประธานของประโยค หรืออยู่ในสถานะอื่นก็ได้
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)กรณีที่ใช้ と เพื่อเชื่อมคำหลายๆคำ ควรใช้ そして เป็นคำเชื่อมตัวสุดท้าย เช่น
みかん と りんご と いちご そして ぶどう は 果物 です (Mikan to ringo to ichigo to budouha kudamono desu)
ส้มและแอปเปิ้ลและสตรอเบอรี่และองุ่นเป็นผลไม้
2)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 2 : みかんとりんごは野菜ではありません (Mikan to ringo wa yasai dewa arimasen) ควรพูดว่า Mikanto ringowa yasaidewaarimasen

การใช้คำว่า も

โครงสร้างภาษา
 ~も~ เป็นคำช่วยขยายประธาน เพื่ออธิบายว่าประธานก็เป็นเช่นอย่างนั้นด้วยเช่นเดียวกัน โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+も+「N2」+です。
 「ประธาน」+も+「คำอธิบายประธาน」+です。
ตัวอย่าง (1)
あなた も 学生 です か
Anata mo gakusei desu ka
คุณก็เป็นนักเรียนใช่ไหมครับ/ค่ะ
 
はい、私 も 学生 です
hai, watashi mo gakusei desu
ใช่ ฉันก็เป็นนักเรียนครับ/ค่ะ
 
田中さん も 学生 です か
Tanaka san mo gakusei desuka
คุณทานากะก็เป็นนักเรียนใช่ไหมครับ/ค่ะ
 
いいえ、田中さん は 学生 ではありません。田中さん は 先生 です
Iie, Tanaka san wa gakusei dewa arimasen. Tanaka san wa sensei desu.
ไม่ใช่ คุณทานากะไม่ใช่นักเรียน คุณทานากะเป็นอาจารย์ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)も มีความหมายตรงกับคำว่า "ก็" ในภาษาไทย ทำหน้าที่ขยายประธานเพื่อให้ทราบว่าประธานกับประโยคก่อนหน้านั้นด้วยเช่นเดียวกัน

การแสดงความเป็นเจ้าอขง

โครงสร้างภาษา
 ~の~ เป็นคำช่วยเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+の+「N2」
 「ประธาน」+の+「คำนาม」
ตัวอย่าง (1)
私 の 名前 は 山田 です。
Watashi no namae wa takashi desu
ฉันชื่อยามาดะครับ/ค่ะ (ชื่อของฉันคือยามาดะครับ/ค่ะ)
 
私 の ペット は 犬 です。
Watashi no petto wa inu desu
สัตว์เลี้ยงของฉันคือสุนัขครับ/ค่ะ
 
私 の ペット の 名前 は ポチ です。
Watashi no petto no namae wa pochi desu
สัตว์เลี้ยงของฉันชื่อโปจิครับ/ค่ะ (ชื่อของสัตว์เลี้ยงของฉันคือโปจิครับ/ค่ะ)
 
ポチ は 私 の ペット です。
Pochi wa watashi no petto desu
โปจิเป็นสัตว์เลี้ยงของฉันครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)の เป็นคำช่วยเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น 私の本 (Watashi no hon) หนังสือของฉัน
2)การใช้ の จะใช้หลายครั้งเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของซ้อนกันก็ได้ เช่น
私の友達の本 (watashi no tomodachi no hon) หนังสือของเพื่อนของฉัน
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : 私のペットの名前はポチです (Watashi no petto no namae wa pochi desu) ควรพูดว่า Watashino pettononamaewa pochidesu

ประโยคคำถาม

ครงสร้างภาษา
 ~は~ですか เป็นประโยคคำถาม โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+は+「N2」+ですか。
 「ประธาน」+は+「คำอธิบายประธาน」+ですか。
ตัวอย่าง (1)
あなた は 田中さん です か。
Anata wa Tanakasan desu ka
คุณคือคุณทานากะหรือเปล่าครับ/ค่ะ
 
はい、私 は 田中 です。
Hai, watashi wa Tanaka desu
ใช่ ฉันชื่อทานากะครับ/ค่ะ
 
田中さん は 日本人 ですか。
Tanakasan wa nihonjin desu ka
คุณทานากะเป็นคนญี่ปุ่นหรือเปล่าครับ/ค่ะ
 
はい、日本人 です。
Hai, nihonjin desu
ใช่ คนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)は เป็นคำช่วยเพื่อระบุว่าคำนามก่อนหน้านั้น คือ ประธานของประโยค โดยอ่านออกเสียงว่า わ (wa)
2)ですか เป็นคำจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
3)กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะพูดเฉพาะส่วนขยายประธานก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : はい、(私は)日本人です Hai, (watashi wa) nihonjin desu : ใช่ (ฉันเป็น)คนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
4)กรณีที่ฝ่ายตรงข้ามพูดประโยคบอกเล่า แล้วเราทวนประโยคนั้นด้วยประโยคคำถาม จะเป็นการถามย้ำเพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง เช่น
ตัวอย่างที่ 6 : いいえ、私は先生です ไม่ ฉันเป็นอาจารย์ครับ/ค่ะ
ตัวอย่างที่ 7 : 先生ですか อาจารย์หรือครับ/ค่ะ (ถามย้ำให้มั่นใจ)
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ですか เป็นคำถามอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
2)ในภาษาพูด มักจะออกเสียง ですか ให้กระชับ โดยออกเสียงว่า des ka และขึ้นเสียงสูงเพื่อให้เป็นประโยคคำถาม
3)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 1 : Anata wa tanakasan desu ka ควรพูดว่า Anatawa tanakasandeska

ประโยคปฏิเสธ

โครงสร้างภาษา
 ~は~ではありません เป็นประโยคปฎิเสธอย่างสุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+は+「N2」+でありません。
 「ประธาน」+は+「คำอธิบายประธาน」+でありません。
ตัวอย่าง (1)
あなた は 大人 では ありません。
Anata wa otona dewa arimasen
คุณไม่ใช่ผู้ใหญ่ครับ/ค่ะ
 
私 は 中国人 では ありません。
Watashi wa chuugokujin dewa arimasen
ฉันไม่ใช่คนจีนครับ/ค่ะ
 
私 は ソムチャイ では ありません。
Watashi wa somuchai dewa arimasen
ผมไม่ใช่สมชายครับ
 
先生 では ありません。
Sensei dewa arimasen
ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)は เป็นคำช่วยเพื่อระบุว่าคำนามที่อยู่ก่อนหน้านั้น คือ ประธานของประโยค โดยอ่านออกเสียงว่า わ (wa)
2)ではありません เป็นคำจบประโยคปฏิเสธอย่างสุภาพ โดยอ่านออกเสียงว่า でわありません
3)กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)先生ではありません (ฉัน)ไม่ใช่อาจารย์ครับ/ค่ะ
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)ではありません เป็นภาษาเขียน เวลาจะพูดมักใช้ว่า じゃありません (ja arimasen)
2)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : Watashi wa somuchai dewa arimasen ควรพูดว่า Watashiwa somuchaidewaarimasen หรือ Watashiwa somuchaijaarimasen

ประโยคบอกเล่า

โครงสร้างภาษา
 ~は~です เป็นประโยคบอกเล่าที่สุภาพ โดยมีรูปแบบการใช้งาน คือ
 「N1」+は+「N2」+です。
 「ประธาน」+は+「คำอธิบายประธาน」+です。
ตัวอย่าง (1)
あなた は 日本人 です。
Anata wa nihonjin desu
คุณเป็นคนญี่ปุ่นครับ/ค่ะ
 
私 は タイ人 です。
Watashi wa taijin desu
ฉันเป็นคนไทย
 
私 は ソムチャイ です。
Watashi wa somuchai desu
ผมชื่อสมชาย
 
大学生 です。
Daigakusei desu
นักศึกษาครับ/ค่ะ
 
คำอธิบาย
1)は เป็นคำช่วยเพื่อระบุว่าคำนามที่อยู่ก่อนหน้านั้น คือ ประธานของประโยค โดยอ่านออกเสียงว่า わ (wa)
2)です เป็นคำจบประโยคบอกเล่าอย่างสุภาพ
3)กรณีที่ทราบอยู่แล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร จะไม่พูดทั้งประธานและ は ก็ได้ เช่น
ตัวอย่างที่ 4 : (私は)大学生です : (ฉันเป็น) นักศึกษาครับ/ค่ะ
อ่านตรงนี้หน่อยนะ !!
1)です เป็นคำจบประโยคอย่างสุภาพ ใช้ได้ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน ผู้ที่เริ่มศึกษาภาษาญี่ปุ่นควรใช้คำว่า です ในการพูดทุกครั้ง
2)ในภาษาพูด มักจะออกเสียง です ให้กระชับ โดยออกเสียงว่า des
3)การเรียกชื่อคน เมื่อจะเรียกชื่อผู้อื่นให้เติมคำว่า さん เพื่อให้เกียรติ แต่หากเรียกชื่อตนเองไม่ต้องมีคำว่า さん เช่น
ตัวอย่างที่ 3 : 私 は ソムチャイ です (Watashi wa somuchai desu) : ผมชื่อสมชายครับ
ตัวอย่างที่ 5 : ソムチャイ さん は タイ人 です (Somuchaisan wa taijin desu) : คุณสมชายเป็นคนไทยครับ/ค่ะ
4)คำช่วย เป็นคำที่มีความสำคัญมากในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อใช้ประโยคยาวๆที่มีคำนามหลายคำ คำนามแต่ละคำจะต้องตามท้ายด้วยคำช่วยเสมอ เพื่อให้รู้ว่าคำนามนั้นมีหน้าที่อย่างไรในประโยค
5)ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาไวยากรณ์ญี่ปุ่น จะใช้คำช่วยผิดบ่อยๆ หรือบางคนก็จะไม่ใช้คำช่วยเลย จึงทำให้ไม่สามารถสื่อสารประโยคยาวๆกับคนญี่ปุ่นได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดได้ง่าย ดังนั้น จึงควรฝึกฝนและใช้คำช่วยเสมอ
6)วิธีพูดภาษาญี่ปุ่นให้เพราะ คือ พูดคำช่วยให้ติดกับคำข้างหน้า และอาจหยุดเล็กน้อย แล้วจึงพูดต่อไป
เช่น ตัวอย่างที่ 2 : Watashi wa taijin desu ควรพูดว่า watashiwa taijindesu

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

Proposition

คำบุพบท ( Preposition)

         คำบุพบท ได้แก่ คำที่ใช้แสดงสถานที่ ตำแหน่ง การเคลื่อนไหว ทิศทาง เวลา ลักษณะ และความสัมพันธ์ คำบุพบทในภาษาอังกฤษอาจเป็นคำคำเดียว เช่น at, between, from   สองคำ เช่น next to, out of, across from หรือสามคำ เช่น in front of, in back of, on top of เป็นต้น คำบุพบทตามด้วยคำนาม คำสรรพนาม หรือกลุ่มคำนาม/นามวลี (noun phrase)
        
นอกจากนี้ ในการตอบคำถามเกี่ยวกับสถานที่ ตำแหน่ง การเคลื่อนไหว ทิศทาง เวลา ลักษณะ และความสัมพันธ์ หากเป็นการตอบแบบสั้น ต้องใช้คำบุพบทนำหน้าประโยคคำตอบด้วย เช่น
         “When's the meeting?”

         “ On Monday.” ( ไม่ใช่ตอบเพียงแค่ Monday.)          

6.1.1 คำบุพบทแสดงสถานที่ (preposition of place) ได้แก่ at, on, in

               at ใช้เมื่อกล่าวถึงจุดหรือตำแหน่งของพื้นที่หรือเนื้อที่ที่มีลักษณะเป็นมิติเดียว ซึ่งบ่อยครั้งมัก
เป็นจุดในการเดินทางหรือสถานที่พบปะ เช่น
                    The coach stops at Phitsanulok and Chiang Mai.
                    Turn left at the traffic lights.
                    See you at the bus stop.
                    We enjoyed the party at your house.

                    at ยังอาจใช้เมื่อกล่าวถึงอาคารหรือสถานที่เมื่อเรากำลังนึกถึงสิ่งที่คนทำภายในอาคารหรือสถานที่เหล่านั้น เช่น
                    Busaba is a student at Sukhothai Thammathirat Open University.
                    Let's meet at the restaurant.
                    I'll drop you at the airport.

               on
ใช้เมื่อกล่าวถึงพื้นผิวที่มีลักษณะสองมิติ เช่น beach, ceiling, computer or TV screen,
                    grass, the page of a book, wall, roof, road, table, shelf  เป็นต้น
                    I love lying on the beach.
                    Can you help me get rid of those dirty spots on the ceiling?
                    What's that mark on the computer screen?
                    The rabbit's sitting on the grass.
                    It's on page 112.
                    I'd like to hang this picture on that wall.
                    There are a few cats on the roof of my house.
                    on
ยังสามารถใช้เมื่อกล่าวถึงสถานที่ที่ตั้งอยู่บนเส้นหรือแนว ( places on a line) เช่น
                    on the Nile, on the equator
เป็นต้น
                    The ancient town of Luxor is on the Nile.
                    Kenya is on the equator, isn't it?
                    My house is located on Vibhavadi-Rangsit Road.
               
นอกจากนี้ on ยังใช้เมื่อกล่าวถึงยานพาหนะ เช่น bus, train, plane และ ship   ยกเว้น car
                    I was on the bus when you called me this morning.
                    Guess who(m) I met on the train?

 
               in ใช้เมื่อกล่าวถึงที่ ที่ว่าง หรือเนื้อที่ที่มีลักษณะสามมิติ เช่น box, city, country, cupboard, drawer, house, library, room, car, pocket, building, village เป็นต้น
                    What's in the box?
                    I live in Bangkok, but my daughter lives in London.
                    How long have you been in Thailand?
                    Can you put the salt and pepper back in the cupboard, please?
                    The letters are in the top drawer.
                    Many students are now studying for their final examination in the library.
                    Your glasses are in the car.
                    It was very cold in the theater last night.

6.1.2  คำบุพบทแสดงตำแหน่ง (preposition of position/location)

                 เช่น above ( ข้างบน เหนือ) , across from ( อีกฝั่งหนึ่งของ) , at the top of ( ด้านบนสุดของ) , at the bottom of ( ด้านล่างสุดของ) , at the back of ( ด้านหลัง) , behind/in back of ( ข้างหลัง) , beside ( ข้าง ๆ) between ( ระหว่าง) , by ( ข้าง ๆ ใกล้ ถัดจาก ติดกับ) , in front of ( ข้างหน้า) , in the middle of ( ตรงกลาง) , near ( ใกล้) , next to ( ถัดจาก ติดกับ) , on top of ( บน ด้านบนของ) , opposite ( ตรงข้าม) , underneath ( ข้างใต้ ข้างล่าง) เป็นต้น
                      The light is above the desk.
                      She lives in the room across from mine.
                      I put your name at the top of the list.
                      Can I borrow the book which is at the bottom of the pile?
                      My husband likes to sit at the back of the cinema.
                      My son was hiding behind me while playing hide-and-seek with his friends.
                      The most comfortable chair is the one beside the window.
                      The little girl is sitting between her father and mother.
                      The big mango tree by the river was blown down last week.
                      There was a woman standing in front of me.
                      Henry was sitting alone in the middle of the yard.
                      My house is near Kasetsart University.
                      The nearest bank is next to that convenience store.
                      The secretary started piling the books on top of each other.
                      The fresh market is opposite the hospital.
                      I found the key I had lost underneath the newspaper.

  6.1.3  คำบุพบทแสดงการเคลื่อนไหว (preposition of motion)

                 เช่น away, from…to, into, through, toward(s), out of เป็นต้น
                      We drove away after saying goodbye to everyone at the party.
                      The salesperson traveled from city to city.
                      The rescuers dived into the water to save the little girl's life.
                      Mike traveled to New York in a 747 and flew through a storm.         
                      To get to Pim's house, we drove toward(s) Sathorn Road.
                      She turned and rushed out of the room.

6.1.4  คำบุพบทแสดงทิศทาง (preposition of direction)

                 เช่น across, along, up, away from, down, to, from เป็นต้น
                      Many people live along both sides of the river.
                      My daughter ran quickly into the house and went up the stairs.
                      I got very angry with one of my employees, so I just walked away from her to
                          calm down.
                      He turned to the right to look at the driver.
                      The loud noise was coming from that room.

6.1.5  คำบุพบทแสดงเวลา (preposition of time)

             1)  at ใช้กับเวลาตามนาฬิกาและในสำนวน เช่น at dawn, at noon, at midday, at night, at midnight,
at bedtime, at lunchtime, at dinnertime, at sunrise, at sunset, at present, at the moment, at the same time เป็นต้น
                  The appointment is at 10:30.
                  Jane works best at night.
                  I'll see you at lunchtime.
                  I'm afraid he's not here at present.  Can I take a message?
                  We finished the test at the same time.
            
นอกจากนี้ at ยังใช้กับวันหยุดสุดสัปดาห์ ( weekend) และเทศกาล ( festival) ต่างๆ เมื่อต้องการ
กล่าวถึงช่วงเวลานั้นตลอดทั้งช่วง
                  Did you have fun at the weekend? (
ตลอดช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์)
                  What are you doing at Christmas? (
ตลอดช่วงเทศกาลคริสต์มาส)

             2)   in
ใช้กับเดือน ปี ทศวรรษ ศตวรรษ ฤดูกาล และสำนวน the first/second/third, etc./last week
In Thailand, the weather's great in December.
                  I started work at STOU in 1985.
                  There was an economic crash in the 1990s.
                  Columbus went to America in the fifteenth century.
                       In winter, it often snows in England.
                  My family and I usually have our main holiday in the summer.
                  The school board meetings are in the first and third weeks of the month.
          
ขอให้สังเกตว่า เมื่อกล่าวถึงฤดูกาลเป็นการเฉพาะ ( อาจหมายถึงช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในฤดูนั้น) ไม่ใช่กล่าวทั่ว ๆ ไป จะใช้ the นำหน้าด้วย
          
นอกจากนี้ in ยังใช้ในสำนวนดังเช่น in the morning/afternoon/evening ในสำนวน in the night เมื่อเป็นการกล่าวถึงคืนใดคืนหนึ่งเป็นการเฉพาะ (มักใช้ในกรณีของคืนวันที่ผ่านมา) และในสำนวน in the past, in the future
                  We went to the Temple of the Emerald Buddha in the afternoon.
                  I had a horrible dream in the night.
                  What would you like to do in the future?


             3)   on
ใช้กับวันต่าง ๆ ของสัปดาห์ วันที่ และในสำนวน เช่น   on Monday morning, on Friday evening, on Saturday night, on the weekend, on weekends เป็นต้น
                  Annie's baby was born on Monday.
                  His birthday is on March 5.
                  Are you doing anything on Saturday night?
                  What do you usually do on the weekend?
                On
ยังใช้เมื่อกล่าวถึงวันใดวันหนึ่งเป็นการเฉพาะในระหว่างเทศกาลหนึ่ง ๆ
                  There's a party at Ann's house on Christmas Day.
                  Do you have any celebration on Easter Sunday?
               
ข้อควรจำ    ไม่ใช้คำบุพบทบอกเวลา in, on, at กับคำว่า today, tomorrow, yesterday และสำนวนบอกเวลาที่ขึ้นต้นด้วยคำบางคำ เช่น last, next, every, this เป็นต้น
                  Do you have any meetings today?
                  What did you do last night?
            
สำนวนที่ใช้กันโดยทั่วไปอีกสองสำนวนคือ in time และ on time จะมีความหมายแตกต่างกันคือ
in time
หมายถึง ทันเวลา (ก่อนเวลา ก่อนกำหนด) ส่วน on time จะหมายถึง ตรงเวลาพอดี
 
             4)   before ( ก่อน)
                  We got there before anyone else.
                  Have you met David before ?
                  I had a job interview at an import-export company the day before yesterday .
                The year before last , I worked as a volunteer in a school in Pattani Province.

             5)   after (
ภายหลัง หลังจาก)
                  I'll be home after dinner.
                  It is a quarter after ten o'clock.
                  Can you come and see me again the day after tomorrow?
                      After Wednesday we will begin our vacation.
                  Paul got a job immediately after his graduation.

 
             6)   during ( ระหว่าง ในระหว่าง)
                  I'll be really busy during the week.
                  I always wake up during the night .
                  The lights went out during the big storm.
                  The bride was so tired that she fainted during the wedding ceremony.

             7)   by (
ภายใน ไม่ภายหลังจาก/ไม่ช้ากว่า = no later than)
                  You must be in the office by 8:30 a.m.
                  The building will be completed by May.
                  Mr. Johnson should receive a reply to his letter by Tuesday.
                      By the time I finished one chore, my wife had thought up two more.

6.1.6 คำบุพบทแสดงลักษณะ (preposition of manner)

                เช่น   in, with, without เป็นต้น
                       He spoke in a low voice.
                       John is the man with gray hair and eyeglasses standing over there.
                       Our friends drove by without even waving.

6.1.7 คำบุพบทแสดงความสัมพันธ์ (preposition of relationship)

                เช่น   for, from, of, about, with, in เป็นต้น
                       She was sorry for him when he heard the truth.
                       Judging from Laura's appearance, I would say that she is not happy.
                       Sarah could not think of the answer.
                       Could you please tell us briefly about yourself?
                       You can leave the package with my assistant.
                       She is interested in the plan.







6.2 คำสันธาน ( Conjunction )

       คำสันธาน คือคำที่ใช้เชื่อมความ ซึ่งได้แก่ คำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคที่สมบูรณ์สองประโยคเข้าด้วยกัน (coordinating conjunction)   คำสันธานที่ใช้นำหน้าประโยคย่อยไม่อิสระใน complex sentence (subordinating conjunction) และคำสันธานแบบคำคู่ ( paired conjunction)

       6.2.1 Coordinating Conjunction

                คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำ กลุ่มคำ หรือเชื่อมประโยคย่อยอิสระที่อยู่ใน compound sentence เช่น and, but, yet, or, nor, neither, for, so เป็นต้น โดยหากเป็นการเชื่อมประโยคย่อยอิสระใน compound sentence คำเชื่อมเหล่านี้จะอยู่ระหว่าง clause ทั้งสองและมีเครื่องหมายจุลภาค , (comma) คั่น ในกรณีที่ประโยคที่เชื่อมต่อกันค่อนข้างสั้น สามารถละเครื่องหมายจุลภาคได้
                     1)  and
ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เสริมกัน ( showing addition)
                      My husband and I are going to Rayong this weekend.
                      My favorite pastimes are playing sports and listening to music.
                      I wrote to Kimberly on Tuesday and received her reply on Saturday morning.
                      January is the first month of the year, and December is the last.

                     2)  but, yet
ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ( showing concession or contrast)
                      These shoes are old but comfortable.
                      Jane likes the piano but prefers to play the harpsichord.
                      Carol is rich, but Robert is poor.
                      Mr. Bartley came to the party, but Mr. and Mrs. O'Connor did not.
                      William is tired, yet happy.
                      The psychiatrist spoke in a gentle, yet persuasive voice.
                      She did not study, yet she passed the exam.

                     3)  or
ใช้แสดงความสัมพันธ์ประเภทเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ( showing alternatives)
                      You can have the black kitten or the white dog.
                      You can email or fax us the details of the program.
                      She wants to watch TV or (to) listen to some music.
                      My friends and I usually go to a party on Saturday night, or we go to the movies.

                     4)  nor, neither
ใช้ในความหมายตรงข้ามกับ or กล่าวคือใช้แสดงความสัมพันธ์ในเชิงปฏิเสธ      
หมายถึง ไม่ทั้งสองอย่าง ( showing no alternatives) ขอให้สังเกตว่าเมื่อใช้คำว่า nor และ neither ซึ่งมีความหมายเชิงปฏิเสธนำหน้าประโยค จะมีการสลับที่ประธานกับกริยา กล่าวคือ จะวางกริยาไว้หน้าประธาน
                      Laura has not left, nor is she planning to leave.
                      These people are not insane, nor are they fools.
                      I was not happy, and neither were they.
                      She doesn't drink, and neither does she smoke.

                     5)  for
ใช้แสดงสาเหตุหรือเหตุผล ( showing causes or reasons)
                      I went to bed, for I was tired.
                      I'm taking an English class, for I want to improve my English skills.
                      I'm afraid I can't accept your invitation, for I have to go on a business trip to Japan.
                      The little girl hid behind her mother, for she was afraid of the dog.

                     6)  so
ใช้แสดงผล ( showing results)
                      Victor liked the necktie, so he bought it.
                      She felt hungry, so she took a lunch break.
                      John's car is in the repair shop, so he has to take a taxi to work.

                      My daughter studies very hard, so she always gets good grades.

6.2.2 Subordinating Conjunction

                คือคำสันธานที่ใช้เชื่อมประโยคย่อยไม่อิสระ/ประโยคใจความรอง ( dependent/subordinate clause) ประเภท adverb clause เข้ากับประโยคย่อยอิสระ/ประโยคใจความหลัก (independent/main clause) ใน complex sentence เพื่อแสดงความสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ อาทิ กิริยาอาการ สถานที่ เวลา เหตุผล ผล จุดประสงค์ การขัดแย้งหรือแตกต่างกัน การเปรียบเทียบ คำสันธานในกลุ่มนี้ เช่น as if, in a way that, where, wherever,  when, before, because, since, so that, so, although, whereas, as … as, more … than, if, unless เป็นต้น โดยคำเชื่อมเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของประโยคย่อยไม่อิสระและมีเครื่องหมาย จุลภาค , (comma) คั่นระหว่างประโยคทั้งสอง
                    1) 
ข้อความแสดงลักษณะอาการ (manner) เป็นการอธิบายลักษณะอาการหรือเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการกระทำใน ประโยคใจความหลัก คำสันธานที่ใช้ เช่น as ( ตามที่) , in a/the way that ( แบบ/ตามวิธีการแบบ) , like ( เหมือนกับ) , unlike ( ไม่เหมือนกับ) , as if/as though ( ราวกับว่า) เป็นต้น
                          Please submit the report by January 16 as I requested earlier.
                          He handled the situation in the way that I like.
                          Like every other student, Ladda had difficulty with tenses.
                          It looks as if it will rain tonight.
                          Mary acted as though she saw a ghost.

                    2) 
ข้อความแสดงสถานที่ (place) เป็นการอธิบายขยายความการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก เพื่อให้ทราบว่าเกิดขึ้นที่ใด คำสันธานที่ใช้ เช่น where ( ที่ที่) , wherever ( ที่ใดก็ตามที่) เป็นต้น
                          Put this document where it belongs.
                          We will accompany you wherever you go.

 
                    3)  ข้อความแสดงเวลา (time) เป็นการอธิบายขยายความการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก เพื่อให้ทราบว่าการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนหรือหลังการกระทำ/เหตุการณ์ใน adverb clause คำสันธานที่ใช้ เช่น as/while ( ขณะที่) , as soon as ( ทันทีที่) , since ( ตั้งแต่) , until/till ( จนกระทั่ง) , when ( เมื่อ) , whenever ( เมื่อใดก็ตามที่) , before ( ก่อนที่) , after ( หลังจากที่) , soon after ( ภายหลังไม่นาน) เป็นต้น
                         The woman slipped as she was getting off the train.
                          While we are considering your request, you should prepare all necessary documents. 
                          I'll leave for the funeral as soon as the meeting ends.
                          The ASEAN summit has been postponed until the present crisis is over.
                          When the rain stops, we'll go out.
                          Before you make your payment, you should contact our finance office.
                          You'll feel better after you've had some rest.
                          I'll come soon after I've finished my work.

                    4) 
ข้อความแสดงเหตุผล (reason) เป็นการอธิบายขยายความเกี่ยวกับเหตุผลของการกระทำ/
เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก คำสันธานที่ใช้ เช่น as/since/because ( เพราะว่า) เป็นต้น
                          As I was feeling tired, I went to bed early.
                          I see my parents quite often as they live near me.
                          Since we had nothing better to do, we watched television the whole evening.
                          We decided to go out for a meal since there wasn't anything to eat in the house.
                          Because it was raining heavily, I had to take a taxi home.
                          I'm taking the English Grammar in Use course this semester because I want to

                          be able to communicate in English more correctly and fluently.        
   
                    5) 
ข้อความแสดงจุดประสงค์ (purpose)
เป็นการอธิบายขยายความว่าการกระทำ/
เหตุการณ์ในประโยคใจความหลักมีจุดประสงค์ใด คำสันธานที่ใช้ เช่น so that/in order that ( เพื่อที่) เป็นต้น
                          I'll give her my email address so that she can contact me.

                          I spoke very slowly in order that the students could understand what I said.
                    6)  ข้อความแสดงผล (result) เป็นการอธิบายผลของการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความหลัก  คำสันธานที่ใช้ เช่น so ( ดังนั้น) , so … that/ such … that  ( มากจนกระทั่ง) เป็นต้น
                          I have too much work to do, so I can't go to my friend's birthday party tonight.
                          He worked so hard that he became ill.
                          It was such lovely weather that we spent the whole day in the garden.

                    7)  
ข้อความแสดงความแย้งหรือตรงกันข้ามกัน (concession/contrast) เป็นการให้ข้อมูลที่แย้งหรือตรงกันข้ามกับการกระทำ/เหตุการณ์ในประโยคใจความ หลัก คำสันธานที่ใช้ เช่น although/though/even though ( ถึงแม้ว่า) , while/whilst/whereas ( ในขณะที่) เป็นต้น
                          Although/Though/Even though it was cold, I went swimming.
                          I like coffee while/whereas my husband likes tea.

                    8) 
ข้อความแสดงการเปรียบเทียบ (comparison) เป็นการอธิบายเปรียบเทียบความต่างระหว่างการกระทำ/เหตุการณ์ใน adverb clause กับประโยคใจความหลัก คำที่ใช้ เช่น as … as ( เท่ากับ) , not as … as ( ไม่เท่ากับ) , -er/more … than ( มากกว่า) , -er/less … than ( น้อยกว่า) เป็นต้น
                          There's plenty of food, so please eat as much as you like.
                          Jane is n't as old as she looks.
                          The government has taken this current crisis more seriously than ever.
                          I have few er friends here than in my own country because I have less time to

                          socialize (here than in my own country).

                    9) 
ข้อความแสดงเงื่อนไข (condition) เป็นการอธิบายว่าการกระทำ/เหตุการณ์หนึ่งเป็นผลมาจากอีกการกระทำ/เหตุการณ์ หนึ่งซึ่งเป็นเงื่อนไข โดย adverb clause เป็นส่วนที่แสดงเงื่อนไข และประโยคใจความหลักเป็นส่วนที่แสดงผลของการกระทำ คำที่ใช้แสดงเงื่อนไข เช่น if ( ถ้า) , unless ( ถ้าไม่) , as long as ( ตราบเท่าที่) เป็นต้น ซึ่งประโยคเงื่อนไขและประโยคที่แสดงผลของเงื่อนไขมีโครงสร้างประโยคหลายแบบ ( ดูโมดูลที่ 12  Complex                           Sentences: Adverb Clauses)
                          Please do not hesitate to call me if you have further questions.
                          If I could afford it, I would buy a house.
                          Unless Tim hurries, he will miss the bus.
                          You can use my car as long as you drive carefully.

6.2.3 Paired Conjunction หรือ Correlative Conjunction

                คือคำสันธานแบบคำคู่ที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคย่อยอิสระใน compound sentence ได้แก่ both … and ( ทั้ง ... และ ...) , not only … but also ( ไม่เพียงแต่ ... เท่านั้น แต่ยัง ... อีกด้วย) , either … or ( ไม่...ก็...) , neither … nor ( ไม่ทั้ง ... และไม่ทั้ง ...)
         I enjoy singing. I enjoy dancing.
          I enjoy both singing and dancing.
         Rice is grown in our country.  Wheat is grown in our country.
          Both rice and wheat are grown in our country.
         Susan looked to the right before crossing the street.
         Susan looked to the left before crossing the street.
          Susan looked both to the right and to the left before crossing the street.
         Man needs food.  Man needs shelter.
          Man needs not only food but also shelter.
         The teacher objected to the change in the curriculum.
         The students objected to the change in the curriculum.
          Not only the teacher but also the students objected to the change in the curriculum.
         Frank returned the money.  Frank paid the interest.
          Frank not only returned the money but also paid the interest.

         You can go.  You can stay.
          You can either go or stay.
         You can have your party at my house.  You can have your party at your parents' house.
          You can have your party at either my house or your parents'.
         You must make the first payment by November 2.  You can explain the delay on Form 233A.
          You must either make the first payment by November 2 or explain the delay on Form 233A.
         He doesn't speak loudly.  He doesn't speak clearly.
          He speaks neither loudly nor clearly.
         We don't have food until the end of the week. 
         We don't have money until the end of the week. 
          We have neither food nor money until the end of the week.
         Tomatoes are not good for this season.  Beans are not good for this season.
          Neither tomatoes nor beans are good this season. (
ขอให้สังเกตว่าเมื่อใช้ neither … nor  
        
เชื่อมประธานสองตัว คำกริยาจะใช้สอดคล้องกับประธานที่อยู่ใกล้คำกริยามากที่สุด ในที่นี้ใช้ are สอดคล้องกับ beans)
         My sister isn't here.  My parents aren't here.
          Neither my sister nor my parents are here. (
ขอให้สังเกตว่าเมื่อใช้ neither … nor  
        
เชื่อมประธานสองตัว คำกริยาจะใช้สอดคล้องกับประธานที่อยู่ใกล้คำกริยามากที่สุด ในที่นี้ใช้ are สอดคล้องกับ my parents)
         Henry wasn't there.  George wasn't there.
          Neither Henry nor George was there.
         The news did not distress him.  The news did not delight him.
          The news neither distressed nor delighted him.